top of page

แอร์แคปและหัวพ่น

สำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5000EA และ GA5000EA

ENGLISH  

Finishing Quality.png

อุปกรณ์สำคัญที่แสดงประสิทธิภาพการพ่นสี

หัวพ่นและแอร์แคปคืออุปกรณ์ที่จะกำหนดม่านสี การเคลือบผิวและการสิ้นเปลืองของสีได้ในการทำงานเลยทีเดียว การเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชิ้นงานเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการพิจาราณาเป็นอย่างมากดังนั้นขอเสนอข้อมูลอุปกรณ์ในส่วนนี้ด้วยข้อมูลที่ละเอียดแล้วเพื่อให้เข้าใจง่าย จะมีการแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้

  • ส่วนของม่านสีแบน (หัวพ่นและแอร์แคปสำหรับม่านสีแบน)

  • ส่วนของม่านสีกลม (หัวพ่นและแอร์แคปสำหรับม่านสีกลม)

1. ส่วนงานพ่นสีม่านสีแบน

GM5000EA Flat Pattern.png

2

1

3

4

5

6

ลักษณะการทำงานของการพ่นในรูปแบบม่านสีแบน

องค์ประกอบของการสร้างม่านสี​

  1. สีที่ไหลเข้าหัวพ่น

  2. ลมส่วนควบคุมม่านสี

  3. ลมส่วนพ่นสี

  4. แอร์แคปหรือหัวลมที่ทำหน้าที่สร้างม่านสี

  5. มุมการพ่นสี

  6. ม่านสีแบน

การใช้งานกับม่านสีแบน

​​

ในการพ่นม่านสีแบบนั้น แรงดันสีที่หัวพ่นอยู่ 2 บาร์และแรงดันลมที่พ่นออกมาจะอยู่ทที่ 2.5 - 4.0 บาร์ ซึ่งเป็นระดับแรงดันที่เหมาะสมสำหรับการพ่นม่านสีแบนซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาการพ่นทับซ้อนได้และยังสามารถปรับขนาดม่านสีได้โดยขึ้นอยู่กับแอร์แคปและหัวพ่นที่เลือกใช้

คุณสมบัติของม่านสีแบน

​​

  • มีระยะการปรับขนาดม่านสีที่ค่อนข้างกว้าง

  • สร้างฟิล์มสีเคลือบผิวได้บางตามที่ต้องการ

  • สร้างความหนาของผิวฟิลม์สีได้สม่ำเสมอทั่วทั้งชิ้นงาน

  • เป็นหัวพ่นที่ใช้กันมากที่สุดเพราะสามารถรังสรรค์ผลงานออกมาได้ละเอียดและสมบูรณ์แบบมากที่สุด

1.1 แอร์แคป (หัวลม) และหัวพ่นสำหรับม่านสีแบน

Flat Air Cap.jpg
AF 5000 Air Caps.png

แอร์แคปหัวพ่นแบน

แอร์แคป AF5000 สำหรับหัวพ่นแบน

 

แอร์แคปรุ่นนี้ต้องใช้คู่กับหัวพ่นแบนตระกูล AF5000 ด้วยกันเท่านั้นเพราะตัวแอร์แคปจะร้างม่านลมให้ออกมาเป็นทรงใบพัดและทำงานคู่กับตัวหัวพ่นแบนให้สีพ่นออกมาเป็นทรงใบพัดเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามแอร์แคปจะมีอยู่ 2 ประเภทคือแอร์แคปม่านสีเล็กและแอร์แคปแบบม่านสีกว้างโดยจะใช้กับตัวหัวพ่น AF 5000 ในชุดเดียวกัน

AF 5000 Aircap Table THA.png
AF5000 Nozzle.png

หัวพ่น AF5000 สำหรับม่านสีแบน

 

หัวพ่นที่ใช้งานคู่กับแอร์แคป AF5000 และได้มีการทำแบบแยกสีเพื่อให้จำขนาดกับสีได้ง่าย อำนวยความสะดวกในการเลือกใช้งาน รายละเอียดของขนาดหัวพ่นจะอยู่ในตารางด้านล่างดังนี้

AF 5000 Nozzle Table THA.png

2. ส่วนงานพ่นสีม่านสีกลม

GM5000EA Round Pattern.png

1

2

3

4

ลักษณะการทำงานของการพ่นในรูปแบบม่านสีกลม

องค์ประกอบของการสร้างม่านสี​

  1. ลมส่วนพ่นสี

  2. สีที่ไหลเข้าไปยังหัวพ่น

  3. แอร์แคป

  4. ม่านสีกลม

การใช้งานกับม่านสีกลม

​​

ในการพ่นม่านสีกลมนั้น แรงดันสีที่หัวพ่นอยู่ 0.5 - 2.0 บาร์และแรงดันลมที่พ่นออกมาจะอยู่ที่ 2.5 - 4.0 บาร์ ซึ่งเป็นระดับแรงดันที่เหมาะสมสำหรับการพ่นม่านสีกลมซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาการพ่นทับซ้อนได้และตัวหัวพ่นมีให้เลือก 2 ขนาดตามความเหมาะสมของชิ้นงาน

คุณสมบัติของม่านสีกลม

​​

  • สร้างฟิล์มสีเคลือบผิวได้บางตามที่ต้องการ

  • สร้างความหนาของผิวฟิลม์สีได้สม่ำเสมอทั่วทั้งชิ้นงาน

  • ม่านสีที่สร้างพื้นที่เคลือบผิวได้กว้างและทั่วถึงซึ่งนิยมใช้กับชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่

2.1 แอร์แคป (หัวลม) และหัวพ่นสำหรับม่านสีกลม

Round Air Cap.jpg

แอร์แคป AR5000 สำหรับหัวพ่นกลม

 

แอร์แคป AR5000 จะสร้างมาให้จับคู่กับหัวพ่นโดยตรงโดยจะมีแบ่งเป็น 2 ขนาดดังนี้

AR5000 - D8 (2310557) สำหรับหัวพ่น AR5000 - D8 (2310558)

AR5000 - D12 (2315049) สำหรับหัวพ่น AR5000 - D12 (2315050)

AR 5000 Nozzle.png

หัวพ่นกลม AR5000

 

หัวพ่นกลมจะมีอยู่ 2 ขนาดเท่านั้นโดยทั้ง 2 ขนาดจะใช้แอร์แคปที่เป็นเลขเดียวกัน

หัวพ่น AR5000 - D8 (2310558) สำหรับรูหัวพ่นขนาด 8 มม.

หัวพ่น AR5000 - D12 (2315050) สำหรับรูหัวพ่นขนาด 12 มม.

3. ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต WAGNER ที่ใช้กับหัวพ่นและแอร์แคปรุ่นนี้ได้

PIC_EQU_GM5000EA-FS-Left.jpg

ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต

WAGNER GM5000EA

ระบบแรงดันอากาศ

GA5000 (New Pic).jpg

ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต

WAGNER GA5000EA

ระบบแรงดันอากาศ

bottom of page