top of page

ENGLISH  

ปืนพ่นสีอัตโนมัติ ANEST IWATA

สำหรับติดแขนกลรุ่น WRA-M200

อีก 1 ระดับของปืนพ่นสีอัตโนมัติสำหรับติดแขนกล

รุ่นใหม่ล่าสุดที่ยกระดับปืนพ่นสีอัตโนมัติให้มีประสิทธิภาพและความหลากหลายในการใช้งานมากกว่าเดิมด้วยหัวพ่น แอร์แคปที่มีหลายขนาดครอบคลุมการใช้งานหลายประเภทและอะแดฟเตอร์ที่มีให้เลือกแบบรองรับระบบหมุนเวียนและไม่รองรับระบบหมุนเวียนสีเพื่อให้ปืนรุ่นเดียวครอบคลุมการใช้งานได้มากที่สุดประกอบกับการถอดประกอบดูแลรักษาที่ง่ายและสะดวกกว่าเดิม แบ่งเป็นตัววัสดุอลูมิเนียมและวัสดุสแตนเลสที่ขึ้นอยู่กับสีและหน้างาน

รุ่นเดียวที่ครอบคลุมการใช้งานได้ทุกระดับทำให้เป็นรุ่นที่ถูกนำเสนอแยกออกมาเป็นเอกเทศโดยสามารถดูรายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเติมได้ในเนื้อด้านล่างที่จะนำเสนอแบบแยกตามส่วนประกอบของปืนพ่นสีตัวนี้

WRA-M200 Series.png

WRA-M200 สีดำ (อลูมิเนียม) สีเทา (สแตนเลส)

ส่วนประกอบของ WRA-M200

IMG_E5865.JPG

1. แอร์แคป (หัวลม)

2. หัวพ่น

3. อะแดฟเตอร์ยึดปืนพ่นสี

4. ตัวปรับอัตราพ่นสี

ข้อมูลทางเทคนิคแบบมาตรฐาน (อ้างอิงที่หัวพ่นขนาด 1.2 มม.)

Standard Tech Thai - 1.png
Standard Tech Thai - 2.png

1. แอร์แคป (หัวลม)

Air Cap Main Picture.png

ส่วนของแอร์แคปในปืนรุ่น WRA-M200 ออกแบบให้สวมเข้าตัวปืนได้ง่ายที่สุดด้วยการสวมเข้าที่ตำแหน่งเดียวเท่านั้นโดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกาและสามารถหมุนตัวแอร์แคปให้อยู่ในแนว 0 องศาหรือ 90 องศาได้โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือและดูความแม่นยำด้วยสายตาได้ (สามารถตั้งค่ามากกว่า 0 องศาหรือ 90 องศาได้) สำหรับตัวแอร์แคปจะมีแบ่งตามสีที่มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน

Aircap Disassembly.png

ภาพการถอดแอร์แคป

01. แอร์แคปสีเทา (Grey)
01.png
Gray - Flat.png
Gray - Shape.png

แอร์แคปสีเทา

รอยม่านสีแบน

ลักษณะผิวเคลือบ

02. แอร์แคปสีดำ (Black)
02.png
Black - Center Heavy.png
Black - Shape.png

แอร์แคปสีดำ

เน้นตรงกลาง

ลักษณะผิวเคลือบ

03. แอร์แคปสีเงิน (Silver)
03.png
Gray - Flat.png
Gray - Shape.png

แอร์แคปสีเงิน

รอยม่านสีแบน

ลักษณะผิวเคลือบ

05. แอร์แคปสีทองพาสเทล (Pastel Gold)
05.png
Pastel - Center Heavy.png
Pastel - Shape.png

แอร์แคปสีทองพาสเทล

เน้นตรงกลาง

ลักษณะผิวเคลือบ

04. แอร์แคปสีทอง (Gold)
04.png
Gold - Flat Touch.png
Gold - Shape.png

แอร์แคปสีทอง

เน้นตรงกลาง

ลักษณะผิวเคลือบ

06. แอร์แคปสีน้ำเงิน (Blue)
06.png
Blue - Flat.png
Blue - Shape.png

แอร์แคปสีน้ำเงิน

รอยม่านสีแบน

ลักษณะผิวเคลือบ

ข้อมูลทางเทคนิคของแอร์แคปในแต่ละรุ่น

Aircap Tech THAI.png

แนวทางการเลือกแอร์แคป

แนวทางการเลือกแอร์แคป.png

1

2

3

A

B

Turning Aircap.png

ตำแหน่งการถอดแอร์แคปจะอยู่ใต้ตำแหน่งของสปริง (ลูกศรแดง) เป็นจุดยืนยันการถอดเข้าถอดออก

1: ความกว้างของม่านสีที่ใช้หน่วย มม.

แอร์แคปแต่ละรุ่นให้ขนาดความกว้างที่ต่างกันออกไปโดยความกว้างของม่านสีจะสัมพันธ์กับขนาดชิ้นงาน ม่านสีที่กว้างจะครอบคลุมชิ้นงานได้มากขึ้นช่วยประหยัดสีและประหยัดเวลาการทำงานรวมทั้งรองรับสีบางประเภทที่ต้องม่านขนาดกว้างในการพ่นสีซึ่งเหมาะกับชิ้นงานขนาดกลางถึงใหญ่แต่ถ้าชิ้นงานเล็กต้องใช้ม่านสีแคบซึ่งต้องเลือกแอร์แคปที่เหมาะสมเพราะแอร์แคปแต่ละรุ่นให้ขนาดม่านสีไม่เท่ากัน

2: ปริมาณสีที่พ่นออกมาใช้อัตรา มล./นาที

ปริมาณสีที่ออกมาจะสัมพันธ์กับขนาดม่านสี ยิ่งม่านสีกว้างปริมาณสีก็ต้องออกมามากตามขนาดความกว้างของม่านสีเพื่อดูจากลักษณะของเส้นกราฟในแผนภูมิ ดังนั้นลักษณะของแอร์แคปที่ใช้จะส่งผลกระทบต่อปริมาณสีที่ออกมาด้วยเพราะมีตัวแปรคือขนาดความกว้างของม่านสี

3: แนวทางการเลือกหัวพ่นตามแอร์แคป

ถึงแม้ว่าปืนพ่นสีรุ่นนี้จะมีหัวพ่นที่ไม่ได้สัมพันธ์กับแอร์แคปโดยตรง (ใช้หัวพ่นกับแอร์แคปรุ่นไหนก็ได้) แต่สุดท้ายแล้วสมรรถนะของแอร์แคปจะบังคับให้ต้องเลือกหัวพ่นที่เข้ากันได้อยู่ดี แน่นอนว่าขนาดหัวพ่นที่เล็กก็ต้องเหมาะกับชิ้นงานขนาดเล็กและขนาดหัวพ่นที่ใหญ่ขึ้นจะเหมาะกับแอร์แคปที่สัมพันธ์กับขนาดม่านสีและปริมาณสี สำหรับรายละเอียดของหัวพ่นให้ไปดูในส่วนของหัวพ่นอีก

A: แอร์แคปสำหรับชิ้นงานขนาดเล็ก

มีแต่แอร์แคปหัวเงินหมายเลข 03 เท่านั้นที่เหมาะสมที่สุดเพราะให้ปริมาณสีและความกว้างของม่านสีที่เล็กที่สุด การเลือกแอร์แคปพร้อมกับหัวพ่นที่มีคุณสมบัติเดียวกันช่วยให้ประสิทธิภาพการพ่นสีได้สมบูรณ์แบบและประหยัดสีไปในคราวเดียวกัน

B: แอร์แคปสำหรับชิ้นงานขนาดกลางไปถึงขนาดใหญ่

แอร์แคปหมายเลข 01 และ 02 จะอยู่ก่ำกึงระหว่างชิ้นงานขนาดกลางและขนาดใหญ่แต่สิ่งที่ช่วยชี้ขาดในการเลือกแอร์แคปคือขีดจำกัดของม่านสีและปริมาณสีที่พ่นออกมา หากชิ้นงานของคุณต้องการม่านสีและปริมาณที่ไม่เกิน 150 มม. และ 200 มล./นาทีตามลำดับ การเลือกจะอยู่แค่ 01 และ 02 เท่านั้น ในขณะที่ชิ้นงานในกรณีที่มีขนาดใกล้เคียงกันแต่ข้อจำกัดในเรื่องม่านสีและปริมาณสีให้อัตราที่สูงกว่าก็สามารถเปลี่ยนไปใช้หมายเลข 04 05 และ 06 ได้

ข้อสรุปในการเลือกแอร์แคป

ปืนพ่นสีอัตโนมัติรุ่น WRA-M200 มีอิสระในการเลือกหัวพ่นและแอร์แคปมากกว่าปืนรุ่นอื่น ๆ แต่สุดท้ายแล้วการเลือกแอร์แคปตามสเปคที่มีการนำเสนอในแผนภูมิด้านบนจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและตรงกับจุดประสงค์ในการพ่นมากกว่า เนื่องจากหัวพ่นขนาด 1.2 มม. เป็นหัวพ่นสเปคมาตรฐานที่ครอบคลุมการใช้งานกับแอร์แคปได้มากตั้งแต่ชิ้นงานขนาดกลางถึงชิ้นงานใหญ่

2. หัวพ่น

หัวพ่น WRA-M200.png

ภาพหัวพ่นหลังจากถอดแอร์แคปตอนทำความสะอาด

ขนาดหัวพ่น

- 0.8 มม. (งานขนาดเล็ก)

- 1.0 มม. (งานขนาดกลาง)

- 1.2 มม. (หัวพ่นมาตรฐานรองรับชิ้นงานได้ทุกขนาด)

- 1.5 มม. (งานขนาดใหญ่)

IMG_6119.JPG

ตำแหน่งหัวพ่นเมื่อสวมแอร์แคป

ความสำคัญของขนาดหัวพ่นต่าง ๆ

หัวพ่นคือทางออกของสีที่จะลำเลียงผ่านปืนแล้วพ่นออกไป ไม่ว่าคุณจะใช้หัวพ่นขนาดไหนก็ตาม ปืนที่ใช้เป็นปืนกระบอกเดียวกันและทางลำเลียงสีออกไปยังหัวพ่นก็เป็นทางเดียวกันขนาดเดียวกัน ถึงแม้ว่าปริมาณสีสามารถปรับตามขนาดที่ต้องการได้ที่เกลียวปรับท้ายปืนแต่เมื่อทางออกสีไม่ได้มีขนาดที่เหมาะสมช่วยควบคุมการพ่นออกมาได้มีประสิทธิภาพ สีจะออกมามากเกินไปทำให้เปลืองสีและชิ้นงานเสียหายได้ดังนั้นการเลือกขนาดหัวพ่นยังมีความสำคัญเพื่อให้การพ่นสีมีประสิทธิภาพที่สุด

หัวพ่นมีอยู่ทั้งหมด 4 ขนาดแต่ขอแยกอธิบายระหว่างหัวพ่นมาตรฐานและหัวพ่นงานเฉพาะดังนี้

หัวพ่นขนาดมาตรฐาน 1.2 มม.

หัวพ่นขนาดมาตรฐานที่จะติดมากับตัวปืนมาให้ทันที เป็นขนาดที่ใช้กับงานทั่วไปได้มากที่สุดและรองรับการใช้งานกับแอร์แคปได้หลายรุ่น (ยกเว้น 03 ที่เป็นงานขนาดเล็กพิเศษ) ดังนั้นขนาดหัว 1.2 มม. จะช่วยให้สีออกมามีปริมาณที่เหมาะสมและใช้งานได้หลากหลายมากที่สุด ยกเว้นสีที่มีความหนืดสูงที่ 1.2 มม. อาจจะพ่นไม่ได

หัวพ่นเฉพาะขนาดเล็กพิเศษ 0.8 มม.

หัวพ่นที่เล็กที่สุดและใช้ได้กับแอร์แคป 03 (สีเงิน) เท่านั้นเพื่อให้สีออกมามีปริมาณแม่นยำมากที่สุดสำหรับงานขนาดเล็ก

หัวพ่นขนาดทางเลือก 1.0 มม. สำหรับงานขนาดกลาง

หากหัวพ่น 1.2 มม. มีขนาดใหญ่เกินไป สีออกมากเกินไปแต่พอพิจาราณา 0.8 มม. แล้วสีออกมาน้อยเกินไปดังนั้น 1.0 มม. ถือว่าเป็นทางเลือกที่ต้องการปริมาณสีออกมาให้พอดีมากที่สุดสำหรับงานขนาดกลาง

หัวพ่นขนาดใหญ่ 1.5 มม. สำหรับงานขนาดใหญ่

1.5 มม. คือขนาดใหญ่ที่สุดที่รองรับสีที่มีความหนืดสูงและเป็นชิ้นงานขนาดใหญ่

3. อะแดฟเตอร์ยึดปืนพ่นสี

IMG_6115.JPG

อะแดฟเตอร์ติดใต้ปืนพ่นสี

IMG_6120.JPG

ด้านที่แสดงข้อต่อกับสายสีและสายลม

ฐานยึดปืนพ่นสี WRA-M200

ฐานยึดปืนที่สามารถตั้งให้ทั้งใช้งานแบบไม่หมุนเวียนสีหรือใช้หมุนเวียนสี (สำหรับสีที่กำหนดต้องให้หมุนเวียนในระบบตลอดเวลา) ดูตัวอย่างภาพจากด้านล่างได้

Paint Circulation.png

ฐานยึดปืนพ่นสี WRA-M200

ตัวอย่างการติดตั้งข้อต่อที่ฐานยึดปืนพ่นสี

Paint circulation 1.png

การติดตั้งข้อต่อแบบไม่ใช้ระบบหมุนเวียนสี (อุดรูตรงมุมซ้ายล่างสุด)

Paint circulation 2.png

การเพิ่มข้อต่อที่มุมซ้ายล่างสุดเพื่อเปิดทางให้ระบบหมุนเวียนสี

4. เกลียวปรับสี

IMG_E5864.JPG

เกลียวปรับสีที่ด้านหลังตัวปืน

เกลียวที่ให้การปรับค่าที่แม่นยำสูงสุด

ด้วยเกลียวรุ่นล่าสุดที่ให้การปรับค่าแม่นยำชนิดที่ให้ความละเอียดมากกว่าปืนรุ่นอื่น ๆ เพื่อประสิทธิภาพงานออกมาได้สมบูรณ์แบบที่สุดแต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ม่านสีและปริมาณสีที่จะออกมานั้นต้องอิงกับขนาดหัวพ่นและแอร์แคปที่ใช้ด้วยเพราะต่อให้เกลียวปรับแม่นยำขนาดไหน องค์ประกอบหลักทั้ง 3 อย่าง (หัวพ่น แอร์แคปและเกลียวปรับ) ต้องมีครบเข้าเงื่อนไขของชิ้นงาน จะขาดไปอย่างใดอย่างนึงไม่ได้

Fluid Adjuster - 1.png

ปืนพ่นสีที่ถอดเกลียวออก

Fluid Adjuster - 2.png
Fluid Adjuster - 3.png

เกลียวแบบปรับได้ด้วยสเกลที่ละเอียด

ปลอกท้ายปืนแบบตั้งอัตราการไหลคงที่

การอ่านรหัสปืนพ่นสีอัตโนมัติ WRA-M200

WRA-M200-

ชื่อรุ่นพื้นฐาน

-

12

ขนาดหัวพ่น

08 - 0.8 มม.

10 - 1.0 มม.

12 - 1.2 มม.

15 - 1.5 มม.

วัสดุตัวปืนมีให้เลือกระหว่าง

อลูมิเนียม (STD) และสแตนเลส (N)

-

01

รุ่นมาตรฐาน

แอร์แคป

01 (STD)

02

03

04

05

06

วัสดุของปืนพ่นสี WRA-M200

ALU Type.png

รายละเอียดของรุ่นอลูมิเนียม

วัสดุของหัวพ่น: สแตนเลส

วัสดุของหัวเข็ม: สแตนเลส

ตัวปืนพ่นสี: อลูมิเนียม

รูระบาย: อลูมิเนียม

ข้อต่อส่วนลำเลียงสี: สแตนเลส

แบบลำตัวอลูมิเนียม (สีดำ)

SSL Type.png

รายละเอียดของรุ่นสแตนเลส

วัสดุของหัวพ่น: สแตนเลส

วัสดุของหัวเข็ม: สแตนเลส

ตัวปืนพ่นสี: สแตนเลส

รูระบาย: สแตนเลส

ข้อต่อส่วนลำเลียงสี: สแตนเลส

แบบลำตัวสแตนเลส (สีเทา)

มิติของปืนพ่นสี WRA-M200 (มม.)

DIM-2.png
DIM-1.png
DIM-3.png

ตัวอย่างการติดตั้งปืนพ่นสี

Mounting Example (M200).png

A

B

C

D

E

F

A

G

G

G

H1

H2

I

J

K

A: ตัวกรองลม

B: ปั๊มจ่ายสี

C: ปั๊มลม

D: ตัวเป่าลมแห้ง

E: ตัววัดอัตราการไหลของสี

F: วาล์วแรงดันต้านกลับ

G: ตัวปรับลม

H1: วาล์วโซลินอยส์สำหรับลมส่วนพ่น

H2: วาล์วโซลินอยส์สำหรับลมส่วนม่านสี

I: วาล์วโซลินอยส์ 3 ทางสำหรับเปิดปิดการทำงาน

J: สำหรับระบบหมุนเวียนสี

K: ส่วนลำเลียงสี

การดูแลรักษาปืนพ่นสี

Maintain 1.png

การถอดเกลียวปรับสีเพื่อทำความสะอาด

นอกจากตัวแอร์แคปที่ถอดเข้าออกได้ง่ายแล้ว ตัวปรับสีสามารถถอดเข้าออกได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือเช่นกันโดยเฉพาะการถอดเพื่อนำชิ้นส่วนข้างในมาทำความสะอาด ไม่เหมือนกับรุ่นก่อนหน้านี้ที่ต้องใช้เครื่องมือมาแทน

ใช้มือเปล่าถอดเกลียวปรับสีโดยไม่ต้องเครื่องมือ

การตรวจสอบส่วนที่สัมผัสกับสี

ส่วนที่สัมผัสกับสีและส่วนห้องลูกสูบในตัวปืนถูกออกแบบให้สามารถตรวจเช็คได้ด้วยตาเปล่าถ้าหัวเข็มและปะเก็นเข็ม (Needle Packing) เสื่อมสภาพจะเห็นได้ทันที นอกจากนี้ตัวปะเก็นจะตรวจเจอในกรณีที่สีรั่วซึ่งสามารถใช้เครื่องมือปรับมาช่วยขันให้แน่นได้โดยไม่ต้องถอดออกมา

Maintain 2.png

ส่วนที่สัมผัสกับสีที่มองเห็นด้วยตาเปล่าได้

mop-30035_1280.png

วีดีโอสาธิตการทำความสะอาดรุ่น WRA-M200

(โปรดคลิ๊กที่ไอคอนด้านซ้าย)

screwdriver-153100_1280.png

วีดีโอสาธิตการประกอบปืนพ่นสีรุ่น WRA-M200

(โปรดคลิ๊กที่ไอคอนด้านซ้าย)

Video Credit:

Company: ANEST IWATA Southeast Asia

Territory: Thailand

URL: https://www.anestiwatathailand.com

กลับไปที่หน้า

ปืนพ่นอัตโนมัติ IWATA

ติดต่อขอราคาและสั่งซื้อ

bottom of page