
1.6 มม. คือขนาดที่ดีที่สุดในงานพ่นรองพื้น
โดยปกติหัวพ่นในแต่ละขนาดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันโดย 1.3 มม. สำหรับสีจริง 1.4 มม. สำหรับพ่นชั้นทับหน้า และ 1.6 มม. สำหรับพ่นรองพื้น ดังนั้นกาพ่นสีรุ่นที่จะนำเสนอนี้เป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าที่ต้องการแยกกาพ่นสีตามการใช้งานโดยเฉพาะโดยจะเป็นกาพ่นสีรุ่นที่ทำขึ้นมาเพื่องานรองพื้นอย่างเดียวด้วยหัวพ่นขนาด 1.6 มม. ที่ไม่สามารถไปพ่นสีงานอื่นได้หรือถ้าใกล้เคียงที่สุดคือพ่นสีสูตรน้ำในงานพ่นชั้นทับหน้า
กาพ่นสีงานรองพื้นเป็นกาประเภทเดียวกับกาพ่นสีงานพ่นสีจริงและชั้นทับหน้าโดยจะมีให้เลือกแบบกาถ้วยข้างและกาถ้วยกลางตามความถนัดของผู้ใช้งานโดยกาถ้วยข้างรุ่น KIWAMI1 B-SHO เป็นรุ่นที่มีมูลค่าถูกที่สุดในบรรดากาพ่นสีรถยนต์ทั้งหมดแต่ประสิทธิภาพถือว่าเพียงพอสำหรับงานประเภทนี้ ในขณะรุ่นอื่น ๆ มีคุณสมบัติเหนือกว่าแต่เป็นทางเลือกให้พิจาราณาเพิ่มเติม
องค์ประกอบของกาพ่นสีถ้วยข้างงานรองพื้นรุ่น KIWAMI1-16B2 B-Sho

A
B
C
D
E
F
G
H
I
J
KIWAMI1-16B2 (B-SHO) กาพ่นสีถ้วยข้างเพื่องานรองพื้นโดยเฉพาะ
กาพ่นสีรุ่น KIWAMI1 B-SHO หรือ KIWAMI1BH (ชื่อย่อ) เป็นรุ่นที่เราเลือกมาสำหรับงานพ่นสีรองพื้นโดยเฉพาะด้วยหัวพ่นขนาด 1.6 มม. ตามหลักทั่วไปของพ่นรองพื้นและด้วยมูลค่าของกาพ่นสีที่ถูกที่สุดในบรรดากาพ่นสีพ่นรถยนต์ ถึงแม้ว่าราคามันอาจจะสูงกว่ากาพ่นสีรุ่น WIDER1G แต่ด้วยส่วนที่แพงกว่าเพียงเล็กน้อยแต่ให้คุณสมบัติการพ่นรองพื้นที่ครบถ้วนมากที่สุด ใช้งานร่วมกับการุ่นอื่น ๆ ในงานพ่นสีจริงและพ่นเคลียร์ได้ไร้ปัญหาแน่นอน
เหตุผลที่เลือก KIWAMI1-16B2 (B-SHO)
-
สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการกาพ่นสีสำหรับงานรองพื้นโดยเฉพาะและต้องการให้คุณภาพงานรองพื้นไปได้ถึงขีดสุด ถึงแม้ว่า WIDER1G หัวขนาด 1.5 มม. สามารถทำได้แต่ก็ทำได้ไม่ดีเท่ากับกาพ่นสีรถยนต์โดยเฉพาะเพราะแอร์แคปที่มีรูลมที่เน้นการกระจายลมจนสร้างม่านสีได้กว้างกว่าและมีหัวพ่นขนาด 1.6 มม. ที่ให้สีพ่นออกมาได้เต็มที่มากกว่า
-
ถ้าเทียบมูลค่ากับรุ่น KIWAMI1RT หรือกาถ้วยกลางอย่าง KIWAMI4 แล้ว KIWAMI1-16B2 มีมูลค่าที่ถูกที่สุดจนมันเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากในการจะหากาพ่นสีสำหรับงานรองพื้นโดยเฉพาะนั้นเอง
องค์ประกอบของกาพ่นสีถ้วยข้างงานรองพื้นรุ่น KIWAMI1-16B12 RT

A
B
C
D
E
F
G
H
I
J
KIWAMI1-16B12 (RT) ตัวเลือกในกรณีที่เจอสีหนืดสูงพิเศษ
KIWAMI1RT หัวพ่นขนาด 1.6 มม. จะมาเป็นตัวเลือกในงานพ่นรองพื้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ใช้งานเจอสีที่หนืดสูงพิเศษมากหรือเจอสีสูตรน้ำจน ถ้าใช้รุ่น KIWAMI1BH อาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลงเพราะหัวพ่นสึกหรอเร็ว นี่คือรุ่นพิเศษที่ผู้ใช้งานอาจพิจาราณามาเป็นตัวเลือกได้เพราะต้องการกาพ่นสีที่พ่นสีรองพื้นรองรับสีหนืดสูงพิเศษและมีความทนทานมากกว่ารุ่นปกติ มูลค่าสูงกว่ารุ่น KIWAMI1BH แต่ก็ยังไม่เท่ารุ่น KIWAMI4
เหตุผลที่เลือก KIWAMI1-16B12 (RT)
-
สำหรับผู้ที่ต้องการกาพ่นสีที่ทนต่อการสึกหรอจากสีหนืดสูงพิเศษแต่ยังต้องการกาพ่นสีรุ่นในรูปแบบถ้วยข้าง
ส่วนประกอบของกาพ่นสีข้างรุ่น KIWAMI1-16B2 (B-Sho) และ KIWAMI1-16B12 (RT)
A. แอร์แคป (หัวลม) ทำหน้าที่สร้างม่านสีเพื่อกระจายสีเข้าสู่พื้นผิว
B. หัวพ่น ทางออกของสีซึ่งจะโดนแอร์แคปสวมครอบทับอีกชั้นหนึ่ง
C. เกลียวนอกติดตั้งถ้วยบรรจุสี สำหรับ KIWAMI1 จะอยู่ด้านข้างซึ่งเป็นเกลียวนอกขนาด G1/4 รองรับถ้วยสแตนเลสขนาดบรรจุสี 400 มล.
D. ปะเก็นกันสีรั่ว อยู่บริเวณใกล้ ๆ หัวเข็มที่ทำหน้าที่เปิดปิดหัวพ่นซึ่งกันไม่ให้สีรั่วออกมา
E. ไกปืน ออกแบบใหม่ให้เข้ามือได้มากขึ้น
F. เกลียวปรับม่านสี ปรับกว้างหรือแคบได้แต่ต้องสัมพันธ์กับระยะห่างระหว่างหัวพ่นกับชิ้นงานด้วย
G. เกลียวปรับปริมาณสี ปรับให้สีออกมามากหรือน้อย โดยปกติก่อนเริ่มใช้งานให้ตั้งค่ามาตรฐานด้วยการปรับให้บิดเกลียวเข้าตามเข็มนาฬิกาให้สุดจนกว่าจะบิดเข้าไปไม่ได้แล้วหลังจากนั้นให้บิดทวนเข็มออกมาที่ 3 รอบครึ่ง (นับรอบอาศัยการสังเกตตำแหน่งของรอยเส้นตรงที่เกลียว)
H. ด้ามจับ ออกแบบใหม่ทำให้ถือได้สบายมากขึ้น
I. เกลียวปรับลม ปรับปริมาณลมพ่นให้ออกมามากหรือน้อย ในช่วงหลังลูกค้านิยมใช้เกจ์วัดลมมากขึ้นทำให้เกลียวปรับลมถูกลดบทบาทลงด้วยการบิดเข้าไปให้สุดเพื่อให้ลมเข้ามาได้ 100% ในขณะที่การปรับปริมาณลมนั้นจะเป็นหน้าที่ของเกจ์วัดลมแทน
J. เกลียวต่อลม เกลียวต่อลมขนาด G1/4 ที่ในช่วงหลังกลายเป็นที่ติดตั้งเกจ์ดวัดลมแทนดังนั้นการต่อกับสายลมจะต่อผ่านเกจ์วัดลม
องค์ประกอบของกาพ่นสีถ้วยกลางบนเพื่องานรองพื้นรุ่น KIWAMI4-16BA4

A
B
C
D
E
F
G
H
I
J
KIWAMI4-16BA4 กาพ่นสีถ้วยกลางที่เหมาะกับงานรองพื้น
KIWAMI4BA คือกาพ่นสีถ้วยกลางที่เน้นงานพ่นสีจริงและพ่นชั้นทับหน้า (เคลียร์) แต่ในรุ่นนี้ได้สร้างหัวพ่นขนาด 1.6 มม. ซึ่งเป็นขนาดที่นำมาใช้งานรองพื้นและยังครอบคลุมการนำไปใช้พ่นเคลียร์สูตรน้ำได้ในระดับเบื้องต้น
เหตุผลที่จะใช้ KIWAMI4-16BA4 มาพ่นงานรองพื้น
-
มีความเป็นไปได้มากที่รุ่น 1.6 มม. อาจจะถูกจำหน่ายในรูปแบบอะไหล่ชุดหัวพ่นและหัวเข็มมากกว่าตัวปืนทั้งกระบอกเพราะงานหลักคือสีจริงและเคลียร์ ในกรณีที่มีกาพ่นสีกระบอกเดียวแต่มีหัวพ่นต่างขนาดไว้คอยเปลี่ยนตามความเหมาะสมเพราะเอาเข้าจริงในกรณีที่มีกาพ่นสีหลายตัวเพื่อแยกตามประเภทของงาน ตัวรองพื้นจะถูกเลือกใช้กาถ้วยข้างมากกว่า
องค์ประกอบของกาพ่นสีถ้วยกลางบนเพื่องานรองพื้นรุ่น KIWAMI4-V16WB2

A
B
C
D
E
F
G
H
I
J
KIWAMI4-V16WB2 กาพ่นสีถ้วยกลางที่เหมาะกับงานรองพื้น
รุ่นที่สร้างมาเพื่อสีสูตรน้ำโดยเฉพาะและจุดประสงค์หลักของหัวพ่นขนาด 1.6 มม. ในรุ่นนี้คือพ่นเคลียร์สูตรน้ำที่มีความหนืดและหยดที่หยาบกว่าสีน้ำมันสูงมากทำให้ต้องใช้หัวพ่น 1.6 มม. แทนแต่บังเอิญว่าหัวพ่นขนาด 1.6 มม. เป็นขนาดมาตรฐานสำหรับงานพ่นสีรองพื้นได้
เหตุผลที่จะใช้ KIWAMI4-16WB2 มาพ่นงานรองพื้น
-
น่าจะเป็นกาพ่นสีรุ่นที่มีโอกาสน้อยที่สุดในการนำไปใช้ในงานรองพื้นเพราะด้วยมูลค่าที่สูงที่สุดและงานหลักของมันคือสีจริงและพ่นเคลียร์สูตรน้ำ กอปรกับงานรองพื้นส่วนใหญ่จะใช้กาถ้วยข้างพ่น
-
เหตุผลที่จะนำไปใช้ในงานรองพื้นคือมีข้อบังคับจากระเบียบการทำงานในแต่ละพื้นที่ซึ่งต้องการให้กระบวนการทำงานออกมามีมาตรฐานตามที่กำหนดซึ่งรวมถึงการกำหนดแบรนด์สีที่ใช้กับกาพ่นสีที่ใช้ด้วย
ส่วนประกอบของกาพ่นสี KIWAMI4-16BA4 และ KIWAMI4-B16WB2
A. แอร์แคป (หัวลม) ทำหน้าที่สร้างม่านสีเพื่อกระจายสีเข้าสู่พื้นผิว
B. หัวพ่น ทางออกของสีซึ่งจะโดนแอร์แคปสวมครอบทับอีกชั้นหนึ่ง
C. เกลียวในติดตั้งถ้วยบรรจุสี สำหรับ KIWAMI4 จะใช้ถ้วยรุ่น PC-G600P-2 ขนาดบรรจุ 600 มล. ที่มีขนาดเกลียวนอก G1/4
D. ปะเก็นกันสีรั่ว อยู่บริเวณใกล้ ๆ หัวเข็มที่ทำหน้าที่เปิดปิดหัวพ่นซึ่งกันไม่ให้สีรั่วออกมา
E. ไกปืน ออกแบบใหม่ให้เข้ามือได้มากขึ้น
F. เกลียวปรับม่านสี ปรับกว้างหรือแคบได้แต่ต้องสัมพันธ์กับระยะห่างระหว่างหัวพ่นกับชิ้นงานด้วย
G. เกลียวปรับปริมาณสี ปรับให้สีออกมามากหรือน้อย โดยปกติก่อนเริ่มใช้งานให้ตั้งค่ามาตรฐานด้วยการปรับให้บิดเกลียวเข้าตามเข็มนาฬิกาให้สุดจนกว่าจะบิดเข้าไปไม่ได้แล้วหลังจากนั้นให้บิดทวนเข็มออกมาที่ 3 รอบครึ่ง (นับรอบอาศัยการสังเกตตำแหน่งของรอยเส้นตรงที่เกลียว)
H. ด้ามจับ ออกแบบใหม่โดยภาพรวมตัวปืนจะสั้นกว่ารุ่น W-400 ที่ 3.5 มม. แต่ด้ามจับจะยาวกว่า 5.0 มม. ทำให้ถือได้สบายมากขึ้น
I. เกลียวปรับลม ปรับปริมาณลมพ่นให้ออกมามากหรือน้อย ในช่วงหลังลูกค้านิยมใช้เกจ์วัดลมมากขึ้นทำให้เกลียวปรับลมถูกลดบทบาทลงด้วยการบิดเข้าไปให้สุดเพื่อให้ลมเข้ามาได้ 100% ในขณะที่การปรับปริมาณลมนั้นจะเป็นหน้าที่ของเกจ์วัดลมแทน
J. เกลียวต่อลม เกลียวต่อลมขนาด G1/4 ที่ในช่วงหลังกลายเป็นที่ติดตั้งเกจ์ดวัดลมแทนดังนั้นการต่อกับสายลมจะต่อผ่านเกจ์วัดลม
อุปกรณ์เสริมที่แนะนำให้ใช้งานร่วมกับกาพ่นสีรองพื้น

ถ้วยข้างสแตนเลส
PC-400SB-2LTF
ขนาดบรรจุ (มล.): 400
น้ำหนัก (กรัม): 210
เกลียวข้อต่อ: G1/4 (PF1/4)
ปืนพ่นสีที่เหมาะสม
-
KIWAMI1
ลักษณะงานที่เหมาะสม
-
สำหรับงานพ่นสีที่ใช้ปริมาณน้อย
-
งานพ่นสีที่มีเกล็ดอย่างสีเมทัลลิคเพราะคุณสมบัติของถ้วยแบบแรงดึงดูด
-
คุณสมบัติของสแตนเลสทำให้ใช้งานได้นานและทนกว่าถ้วยอลูมิเนียมเพื่อรับประกันว่าจะไม่เป็นสนิม
-
คุณสมบัติพิเศษสามารถปรับมุมของถ้วยได้ทำให้สามารถพาปืนพ่นสีเข้าไปในจุดที่พ่นยากกว่าปกติได้

ถ้วยกลางพลาสติก
PC-G600P-2
ขนาดบรรจุ (มล.): 600
น้ำหนัก (กรัม): 220
เกลียวข้อต่อ: G1/4
ปืนพ่นสีที่เหมาะสม
-
KIWAMI4
คุณสมบัติ
-
พลาสติกชนิดพิเศษที่ไม่ทำให้สีเกาะค้างบนพื้นผิวดังนั้นงานพ่นสีรถยนต์ที่ใช้สี 2K จะใช้ได้ทันที
-
น้ำหนักเบาและอยู่ตรงกลางลำตัวปืนสร้างสมดุลในการถือและลดการล้าได้ง
-
ปัจจุบันเป็นถ้วยมาตรฐานที่ใช้กับกาพ่นสีรถยนต์ทุกรุ่นของ ANEST IWATA แทนที่รุ่นเก่าอย่าง PCG-6P-M ที่ใช้กับปืนรุ่นเก่า

เกจ์วัดแรงดันลม
AJR-02S-VG
ระดับแรงดันในการวัด (บาร์): 0 - 10
แรงที่ใช้งานจริง (บาร์): 0 - 3.5
น้ำหนัก (กรัม): 120
เกลียวข้อต่อ: G1/4
ปืนพ่นสีที่เหมาะสม
ปืนพ่นสี ANEST IWATA ที่มีเกลียวลมขนาด G1/4 ทุกรุ่น
คำแนะนำในการใช้
-
นี่เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยชี้วัดคุณภาพงานพ่นสีและช่วยในการแก้ปัญหาการพ่นสีได้เกือบทุกเรื่องเพราะ 1 ในเรื่องสำคัญของการพ่นสีคือการปรับปริมาณแรงดันลมที่ช่วยแรงดันลมนิ่งและคุณภาพที่ออกมาสม่ำเสมอ
-
เกจ์วัดลมผลิตที่ประเทศอิตาลีที่มีจุดเด่นในเรื่องความแม่นยำและเที่ยงตรงตลอดการใช้งาน
-
มีเกลียวปรับลมที่ทำหน้าที่แทนเกลียวปรับลมที่ปืนพ่นสี
ข้อมูลทางเทคนิคของกาพ่นสีสำหรับงานพ่นสีรองพื้นทุกรุ่น
ข้อมูลกาพ่นสีรถยนต์
โปรดคลิ๊กที่รูปภาพข้อมูลทางเทคนิคเพื่อดาวน์โหลดเอกสารตารางข้อมูลของกาพ่นสีรถยนต์เพื่อให้ดูได้สะดวกมากขึ้น