top of page

Chapter 3: Air Spray Method

ตอนที่ 3: การพ่นสีด้วยแรงอัดอากาศ

ENGLISH  

การพ่นสีด้วยแรงอัดอากาศคือ

ตัวอย่างชิ้นงาน

เป็นการพ่นสีที่ใช้อากาศเป็นแรงอัดและควบคุมการพ่นสีซึ่งอากาศเป็นตัวช่วยให้สีฟุ้งกระจายเข้าชิ้นงานได้ทั่วถึง โดยส่วนใหญ่งานที่พ่นมักจะเป็นชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก สีมีความหนืดต่ำ ชิ้นที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน มีซอกมุมเยอะ

เทคโนโลยีการพ่นแบบนี้ถือเป็นการพ่นสีแบบดั้งเดิมที่สุด (Conventional Spray) ที่มีความซับซ้อนน้อยมากเมื่อเทียบกับการพ่นประเภทอื่นเช่นการพ่นแบบไร้อากาศและการพ่นแบบใช้บังคับการพ่นไร้อากาศแต่ให้คุณภาพงานพ่นที่ดีที่สุดในเรื่องความละเอียด การควบคุมการฟุ้งกระจายดังนั้นจึงมีการใช้ในกรณีพ่นเก็บงาน พ่นตกแต่งเพิ่มเติมจากงานพ่นหลัก

ถึงวิธีนี้จะสิ้นเปลืองเวลาและปริมาณสีมากที่สุดเมื่อเทียบกับปืนพ่นสีประเภทอื่นแต่จุดเด่นที่วิธีอื่นทำแทนไม่ได้คือเรื่องคุณภาพของงานพ่นซึ่งผู้ใช้จะเน้นเรื่องคุณภาพชิ้นงานมาเป็นหลักมากกว่าเรื่องการะประหยัดเวลาและปริมาณสีแต่อย่างไรก็ตามยังมีเทคโนโลยีปืนประจุไฟฟ้าเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้เช่นปืนประจุไฟฟ้าพ่นสี WAGNER GM5000EA เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เอกสารแนะนำสินค้าฉบับนี้จะเน้นปืนพ่นสีใช้แรงอัดอากาศสำหรับงานผลิตที่มีจำนวนไม่เยอะ งานพ่นที่เน้นเรื่องการเก็บงาน ตกแต่งเพื่อความสวยงามเป็นหลักและงานพ่นลักษณะพิเศษที่การพ่นแบบอื่น ๆ ทำไม่ได้เช่นงานพ่นสีตัวถังรถยนต์

การพ่นแบบแรงอัดปกติ (Fine Spray)

ใช้การอัดอากาศเป็นตัวพ่นสีโดยสีและอากาศจะเข้ามาเจอกันที่หัวพ่นซึ่งอากาศมาในรูปแบบกระแสลม 2 ส่วนที่ควบคุมม่านสีกับส่วนที่เป็นกระแสลมพ่น หลังจากนั้นสีจะพ่นออกมาโดยมีแรงอัดอากาศคอยควบคุมซึ่งมีส่วนช่วยให้ม่านสีออกมาสมบูรณ์แบบ ถึงแม้ว่าจะให้คุณภาพงานพ่นที่ดีที่สุดแต่การพ่นแบบนี้มีโอกาสเกิด Over Spray การพ่นทับซ้อน) สูงเพราะการใช้ทั้งปริมาณสีและแรงอัดอากาศสูงทำให้สีอาจฟุ้งกระจายมากจึงแนะนำให้พ่นในสถานที่ปิดตามตัวอย่างในภาพ

ตัวอย่างปืนพ่นสีที่พ่นแบบ Fine Spray

ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างลมกับสีที่พ่นด้วยแรงอัดอากาศ

พ่นด้วยแรงอัดอากาศต่ำแต่พ่นด้วยปริมาณสีสูง (HVLP)

อีกรูปแบบหนึ่งของการพ่นด้วยแรงอัดอากาศที่มาแก้ปัญาเรื่องการพ่นทับซ้อน (Overspray) เนื่องจากการพ่นแบบปกติเน้นในเรื่องการส่งสีเข้าถึงชิ้นงานให้มากที่สุดแต่ใช้แรงอัดอากาศต่ำ การใช้แรงอัดอากาศแบบปกติอาจทำให้สีฟุ้งกระจายมากเกินไปทำให้สีเกาะไม่สม่ำเสมอเท่าที่ควร ดังนั้นระบบ HVLP มาแก้ปัญหาในเรื่องลดแรงอัดอากาศให้น้อยลงแต่เพิ่มปริมาณสีให้ออกไปให้มากกว่าเดิมดังนั้นมันจะช่วยลดการฟุ้งกระจายจนเกิดหมอกสีในระหว่างที่พ่น เหมาะกับการพ่นเน้นให้สีเคลือบชิ้นงานให้มากที่สุด

ปืน HVLP ที่ใช้ในโรงงานอุตสหกรรม

ปืนพ่นสี HVLP ใช้ในงานก่อสร้าง

ตัวอย่างม่านสีของ Air Spray

การพ่นแบบใช้แรงอัดอากาศ สีจะพ่นออกมีม่านเป็นทรงดอกทิวลิป โดยปกติปืนทุกประเภทสามารถปรับได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนได้ที่หัวพ่น ตามความเหมาะสมของชิ้นงานไม่ว่าจะเป็นการพ่นแบบ Fine Spray หรือ HVLP

ม่านสีจากปืนพ่นด้วยแรงอัดอากาศ

ปืนพ่นสีแรงอัดอากาศแบบต่าง ๆ

ปืนพ่นสีแรงอัดอากาศแบบกาบน (Gravity)

กาบนหรือถ้วยบนคือถ้วยสีที่ติดด้านบนของปืนโดยอาศัยการไหลลงของสีจ่ายมาที่หัวพ่นบริเวณที่เปิดปดท่อสีที่จะทำงานโดยไกปืน ถ้าไกปืนมีการเหนี่ยว มันจะเปิดให้สีไหลลงมาเจออากาศและพ่นออกไปเองโดยอัตโนมัติ ปืนประเภทนี้เหมาะสำหรับงานที่สีใช้สีไม่เยอะแต่สีมีเนื้อแข็งเป็นเกล็ดเช่นสีเมทัล์ลิคและสีที่มีความหนืดในระดับที่กาล่างดูดไม่ได้เช่นพ่นสีตัวถังรถยนต์

ปืนพ่นสีแรงอัดอากาศแบบกาล่าง (Suction)

กาล่างหรือถ้วยล่างคือถ้วยสีที่ติดด้านล่างของปืนโดยอาศัยการดูดสีขึ้นผ่านท่อดูดสีและจ่ายไปที่หัวพ่น บริเวณที่เปิดปิดท่อสีจะทำงานโดยไกปืน ถ้าไกปืนมีการเหนี่ยว มันจะเปิดให้สีดูดขึ้นมาเจออากาศและพ่นออกไปเองโดยอัตโนมัติ ปืนประเภทนี้เหมาะสำหรับงานที่สีใช้สีไม่เยอะ มีเนื้อสีอ่อนและมีความหนืดต่ำ

ปืนพ่นสีแรงอัดอากาศแบบต่อกับปั๊ม (Pressure)

เป็นปืนที่ต้องใช้ปั๊มจ่ายสีหรือถังแรงอัดเป็นตัวจ่ายสีเนื่องจากเป็นปืนที่ใช้กับสีที่มีเนื้อเป็นเกล็ดมากที่สุดและต้องใช้ปริมาณสีที่เยอะกว่า 2 ประเภทแรกดังนั้นมักจะใช้กันแพร่หลายในงานผลิตจำนวนมาก

ปั๊มจ่ายสีและถังแรงอัดต้องออกแบบให้ใช้งานได้ในระบบแรงอัดอากาศ

ตัวอย่างปั๊มจ่ายสีและถังแรงอัดที่ใช้ในระบบพ่นสีด้วยแรงอัดอากาศ

ตัวจ่ายสี

มีอยู่ 2 รูปแบบ แบบที่ 1 เป็นปั๊มจ่ายสีที่แยกถังสีกับตัวปั๊มออกจากกันและใช้ท่อดูดสีจุ่มจากถังภายนอกและส่งสีไปที่ปืน ข้อดีคือเปลี่ยนสีได้สะดวกกว่า แบบที่ 2 มาเป็นถังโดยที่ส่วนบรรจุกับส่วนจ่ายสีจะอยู่จุดเดียวกัน ในถังมีใบกวนสีอยู่ในตัวทำให้ไม่ต้องกวนสีเองเหมือนกับปั๊มจ่ายสี ใช้ปริมาณสีได้เยอะกว่าแบบปั๊มจ่ายสีแต่มักจะใช้กับงานที่พ่นสีเดียวเป็นระยะเวลานาน

bottom of page