top of page

Chapter 9: Feeding Unit and Driver Unit
บทที่ 9: ตัวจ่ายสีและตัวขับเคลื่อน
ตัวจ่ายสี
เครื่องพ่นสี WAGNER มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายเพราะต้องรองรับงานพ่นสีได้ทุกรูปแบบ เครื่องพ่นที่ใช้ในโรงงานกับเขตก่อสร้างมีระบบการจ่ายสีและตัวขับเคลื่อนที่แตกต่างกันเพราะต้องออกแบบให้มีความเหมาะสมตามเงื่อนไขดังนี้
1. รูปแบบงานพ่นสี
2. ประเภทของสีและเคมี
3. ข้อปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยในสถานที่การทำงานแต่ละแห่ง
4. ระยะเวลาการใช้งาน
5. อุปกรณ์ใช้งานร่วมเช่นปืนพ่นสี
ดังนั้นมีการแบ่งกลุ่มสินค้าเช่นกลุ่มงานพ่นสีในโรงงาน กลุ่มงานพ่นสีก่อสร้าง เป็นต้น เราขอแนะนำให้รู้จักประเภทตัวจ่ายสีต่าง ๆ ดังนี้


1. แบบปั๊มลูกสูบ
ปั๊มจ่ายสีจากจังหวะการขยับขึ้นลงของลูกสูบซึ่งสร้างแรงดูดได้สูงมาก เหมาะแก่การดูดสีที่มีความหนืดสูงได้ มีปั๊มลูกสูบทั้งแบบนิวเมติค (ใช้ลมเป็นตัวขับเคลื่อนให้ปั๊มทำงานทั้งระบบ) และแบบไฮดรอลิกส์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าควบคุมให้ปั๊มในเครื่องจ่ายน้ำมันไฮดรอลิกส์เพื่อให้ลูกสูบทำงาน

ปั๊มลูกสูบแบบนิวเมติคที่ใช้ในโรงงาน

ปั๊มลูกสูบไฮดรอลิกส์ที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน
2. แบบปั๊มไดอะแฟรม
ปั๊มจ่ายสีจากจังหวะการกระพือของแผ่นไดอะแฟรมซึ่งเป็นวัสดุที่ทนทานและสึกเหรอช้ากว่าลูกสูบ

เครื่องยิงโฟมที่ใช้ได้ทั้งแรงอัดต่ำและแรงอัดสูงใช้ไดอะแฟรมเป็นตัวจ่ายเคมี



3. แบบปั๊มไดอะแฟรมคู่
ทำงานเหมือนกับไดอะแฟรมเดี่ยวแต่ปั๊มแบบนี้จะวางไดอะแฟรม 2 ตัวอยู่ตรงข้ามและกระพือไปในทิศทางตรงกันข้ามซึ่งลดแรงกระเพื่อมที่ทำให้ปั๊มสั่นสะเทือนและเพิ่มแรงดูดสีมากกว่าใช้ไดอะแฟรมแผ่นเดียวดังนั้นมักจะใช้กับสีที่มีความหนืดสูง มีมวลหนาแน่นมากเช่นสี 2K เป็นต้น

ปั๊มไดอะแฟรมคู่สำหรับงานพ่นสีด้วยแรงอัดสูง

ปั๊มไดอะแฟรมคู่สำหรับงานถ่ายเทของเหลวด้วยแรงอัดต่ำ
4. แบบปั๊มเกลียว
ปั๊มจ่ายแบบเกลียวขนาดใหญ่ใช้กับวัตถุเคมีที่มีความหนืดสูงพิเศษและมีเนื้อเป็นเม็ดเช่นปูนมอร์ต้าร์ เกลียวหมุนขนาดใหญ่สร้างแรงขับเคลื่อนจากการหมุนรอบตัวมันเองเพื่อส่งปูนไปยังปืนพ่นที่ออกแบบมาใช้งานโดยเฉพาะ

เครื่องพ่นปูนฉาบที่ต้องใช้ปั๊มเกลียวจ่ายปูนเข้าหัวพ่น
5. แบบจ่ายสีด้วยกังหัน
ปืนพ่นสีระบบ HVLP แบบใช้นอกสถานที่จะสร้างแรงอัดต่ำด้วยกังหันในปืนที่สร้างแรงอัดลมได้ไม่เกิน 7 บาร์ผ่านสายลมไปยังถ้วยสีในตัวปืนพ่นสีและใช้แรงอัดต่ำจ่ายสีไปยังหัวพ่นเพื่อพ่นสีออกมา


เครื่องพ่นสีแบบ HVLP สำหรับใช้งานนอกสถานที่
ตัวขับเคลื่อน
ตัวขับเคลื่อนมีอยู่ 3 แบบเพื่อรองรับการใช้งานในแต่ละที่โดยข้อกำหนดของสถานที่ใช้งาน ระยะเวลาการทำงานจะเป็นตัวเลือกตัวขับเคลื่อนที่เหมาะสม

1. มอเตอร์ไฟฟ้า
มอเตอร์จะมาพร้อมกับปั๊มในตัว ใช้งานง่ายเพียงแค่เสียบปั๊กไฟก็ทำงานได้แล้ว ปั๊มไฟฟ้าของ WAGNER เป็นปั๊มที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องพ่นสีที่ใช้ในนอกสถานที่เช่นงานก่อสร้างและไม่ควรใช้งานหนักเกิน 3 ชม. ดังนั้นจะเหมาะกับเครื่องที่พ่นเป็นโครงการมากกว่างานผลิตต่อเนื่อง


ตัวอย่างเครื่องพ่นสีปั๊มไฮดรอลิกส์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า


2. นิวเมติค
ปั๊มจะทำงานด้วยแรงอัดลมจากปั๊มลมที่จ่ายมาให้เพราะฉะนั้นเป็นการทำงานที่ไม่มีไฟฟ้าและเชื้อเพลิงจึงเป็นปั๊มที่เหมาะกับสถานที่ปิดที่ทำงานหลายชั่วโมง (มากกว่า 10 ชม. ขึ้นไป) โดยเฉฑาะพ่นสีงานผลิตต่อเนื่องหรือสถานที่มีมาตรการป้องกันเพลิงไหม้


ตัวอย่างเครื่องพ่นสีปั๊มพ่นสีและปั๊มผสมสี 2K ที่ใช้แรงอัดลมขับเคลื่อน
3. ใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน
เนื่องจากบางพื้นที่ไม่มีที่จ่ายไฟฟ้าดังนั้นต้องมีเครื่องยนต์อนเกประสงค์มาเป็นตัวขับเคลื่อนแทน โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ในสถานที่เปิดเช่นบริเวณก่อสร้างเป็นต้น

เครื่องตีเส้นและทำเครื่องหมายบนถนนที่ต้องใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิง
bottom of page