
A

B
ภาพการพ่นสีในสถานที่จริง (A) และภาพจำลองการพ่นสี (B) ขอให้สังเกตสีฝุ่นที่ตกลงบนพื้นห้องพ่นสีให้ดี โดยเฉพาะภาพจำลองด้านขวาที่ได้แสดงภาพสีฝุ่นออกมาชัดเจน
หลักการและจุดประสงค์ของการหมุนเวียนสีฝุ่น

สีฝุ่นทุกเม็ดต้องไม่สูญเปล่า
คุณภาพสมบัติสำคัญของสีฝุ่นที่ทำให้หลายโรงงานเปลี่ยนจากสีสูตรน้ำมันมาใช้สีประเภทนี้เป็นเพราะว่าสีฝุ่นสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก ไม่เหมือนกับสีน้ำที่สีที่ไม่ใช้แล้วจะไหลลงเข้ากระบวนการบำบัดทันทีแต่ตัวสีฝุ่นที่ร่วงอยู่บนพื้นห้องพ่นสียังมีสภาพเดิมและนำกลับมาใช้ได้ดังนั้นระบบหมุนเวียนสีฝุ่นมีไว้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกู้คืนสีฝุ่นมาใช้ใหม่ได้ดีขึ้น
กระบวนการหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ
แม้ว่าสีฝุ่นจะนำกลับมาใช้ได้แต่หากขั้นตอนการเก็บสีฝุ่นและนำกลับมาใช้ไม่มีประสิทธิภาพมาก สีฝุ่นมีความเสียหายได้และซ้ำร้ายอาจจะมีความชื้นเข้าไปในผงสีฝุ่นจนไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ บางครั้งระยะเวลาการเก็บกู้นานจนทำให้กระบวนการทำงานล่าช้า ระบบหมุนเวียนสีฝุ่นที่มีประสิทธิภาพและไว้ใจได้ต้องแก้ปัญหาพวกนี้ได้หมด
ตัวอย่างการกู้คืนสีฝุ่นเพื่อนำมาหมุนเวียน

ส่วนประกอบของระบบกู้คืนสีฝุ่น
1. ศูนย์กลางการจ่ายสีฝุ่น
2. สายพานสกัดสีฝุ่น
3. อุปกรณ์หมุนเวียนสีฝุ่นที่ใช้แล้ว
4. ห้องพ่นสีฝุ่นแบบเหล็กสแตนเลส
5. เครื่องร่อนสีฝุ่น
6. ระบบลำเลียงแบบบีบตัว
ตัวอย่างจากระบบพ่นสีฝุ่นอัตโนมัติ
การใช้แผนผังห้องพ่นสีฝุ่นอัตโนมัติจะแสดงตัวอย่างการหมุนเวียนสีฝุ่นได้ชัดเจนที่สุดเพราะช่วยให้เข้าใจประโยชน์ของระบบนี้ได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะต้องตอบโจทย์ในเรื่องประสิทธิภาพ ลดการสูญเปล่าและการใช้ระยะเวลาที่คุ้มค่าที่สุดโดยขั้นตอนทั่วไปของการดูดคืนสีฝุ่นมีดังนี้
หลักการทำงาน
-
สีฝุ่นจากศูนย์กลางการจ่ายสี (1) จะถูกชาร์จจากปืนพ่นสีด้วยแรงดันไฟฟ้าแรงสูง (โคโรน่า)
-
สีฝุ่นที่ถูกพ่นแต่ไม่ได้ไปเกาะชิ้นงานจะถูกดูดกลับไปอุปกรณ์หมุนเวียนสีฝุ่น (3) ด้วยสายพานสกัดสีฝุ่น (2) หรือถูกเอาออกจากห้องพ่น (4) ด้วยไซโคลนหลายตัวหรือระบบกรองสี
-
สีฝุ่นจะถูกเก็บและร่อนด้วยเครื่องร่อนสีฝุ่น (5) หลังจากจะถูกส่งกลับไปยังศูนย์กลางการจ่ายสี (1) ด้วยระบบลำเลียงแบบบีบตัว (6) ไปยังถังสีฝุ่น
-
ขั้นตอนจะย้อนกลับไปที่ข้อ 1 หลังจากการพ่นสีเข้าชิ้นงาน
ระบบการกู้คืนเพื่อหมุนเวียนสีฝุ่นของ WAGNER
ระบบหมุนเวียนที่ช่วยประหยัดพลังงานและการใช้สีฝุ่น
หลายโรงงานได้ถามตัวเองว่าจะทำอย่างไรให้สามารถประหยัดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนและรักษาสิ่งแวดล้อมให้ได้มากขึ้นสำหรับงานพ่นสีฝุ่น WAGNER ตอบคุณได้ด้วยการนำเสนอแนวทางใหม่ของระบบกู้คืนเพื่อหมุนเวียนสีฝุ่นที่ช่วยให้ประหยัดมากขึ้นถึง 40% ในชื่อของ EEP (Efficient - ประสิทธิภาพ Energy - พลังงาน Package - ชุด)
หนึ่งในเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดของโลกใบนี้คือการประหยัดพลังงานซึ่งเป้าหมายนี้ได้มีผลกระทบกับระบบพ่นสีฝุ่นเพราะระบบนี้ก็ต้องใช้พลังงานจากไฟฟ้าโดยตรงเช่นตัวมอเตอร์ขับเคลื่อนในระบบนี้หรือใช้พลังงานไฟฟ้าจากทางอ้อมเช่นการใช้แรงดันอากาศที่จ่ายจากปั๊มลมซึ่งสุดท้ายก็ต้องใช้ไฟฟ้าอยู่ดี
แม้แต่ในอดีต WAGNER เคยใช้พลังงานให้ทุกส่วนประกอบทำงานได้มีประสิทธิภาพ มันมีฟังก์ชั่นการทำงานเช่นสวิทซ์ปิดตัวลิฟท์ยกแขนกลให้เป็นจังหวะที่เหมาะสมหรือตั้งค่าให้ปืนพ่นสีทำการพ่นก็ต่อเมื่อมีชิ้นงานเคลื่อนเข้ามาอยู่ด้านหน้าของปืนพ่นสี ฟังก์ชั่นการทำงานนี้จะรู้จักในชื่อเรียกว่า "ส่วนควบคุมจังหวะการปิดจ่ายสีฝุ่นและความสูง" (Gap and Height Control) ถึงมันจะช่วยประหยัดในจำนวนที่น้อยจนไม่เป็นสาระสำคัญแต่สุดท้ายเมื่อมันช่วยประหยัดได้หลายครั้งยอดรวมที่ประหยัดสีฝุ่นตอนสิ้นงวดการทำงานประจำปีมีจำนวนมากขึ้นจนเป็นตัวเลขที่เป็นสาระสำคัญและนำมาพิจาราณาได้


การทำท่อลำเลียงแบบ EEP ลดการเสียแรงดันน้อยลงเพื่อให้สีฝุ่นไหลไปได้

การทำท่อลำเลียงแบบดั้งเดิม สี่ฝุ่นจะติดขัดบางจุดทำให้สีไหลไปไม่สะดวก
ลดการใช้พลังงานสำหรับงานพ่นสีฝุ่นได้ถึง 40%
ตัวที่กินพลังงานมากที่สุดในระบบพ่นสีฝุ่นเหลือแค่ มอเตอร์ใบพัดในตัวกรองตัวสุดท้าย (Final Filter) ที่ยังกินพลังงานมากถึง 37 kW และยังกินได้มากกว่านี้อีกแต่เดี๋ยวนี้ WAGNER ได้พัฒนาแนวคิดการประหยัดพลังงานแบบเบ็ดเสร็จสำหรับมอเตอร์ใบพัดและทำได้สำเร็จซึ่งได้ทดสอบไปในปี 2016 ในตัวไซโคลนเดี่ยว EEP (EEP Monocyclone) และชุดตัวกรองสุดท้าย
แนวคิดของ EEP จะใช้ลดการต้านของกระแสลมและแรงดันอากาศโดยอย่างแรกการวางตัวรางท่อที่อยู่ระหว่างตัวห้องครอบท่อและตัวไซโคลนให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสม อย่างที่สองมีการนำอากาศพิเศษภายในไซโคลนเดี่ยวด้วยการติดตั้งแบบนี้ทำให้มอเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงแต่มันมีขนาดมากพอที่จะสร้างอัตราการดูดในอัตราเดียวกันได้และด้วยวิธีนี้เองทำให้การสร้างระบบหมุนเวียนแบบ EEP ช่วยลดการใช้พลังงานได้มากถึง 40%
รูปแบบระบบตัวกู้คืนหมุนเวียนสีฝุ่นภายใต้แนวคิด EEP
-
ท่อลำเลียงประสิทธิภาพสูง
-
ตัวไซโคลนที่มีประสิทธิภาพสูง
-
ตัวกรองตัวสุดท้ายที่มีประสิทธิภาพสูง

รูปแบบของ EEP ที่รอการจดสิทธิบัตร

การไหลของสีฝุ่นภายใต้การหมุนเวียนสีในแนวคิดของ EEP
อุปกรณ์ภายใต้ระบบหมุนเวียนสีฝุ่น

ไซโคลน
ระบบหมุนเวียนสีฝุ่นจะมีอุปกรณ์หลัก 2 ตัวคือไซโคลน (Cyclone) และตัวกรอง (Filter) ซึ่งตัวไซโคลนเป็นด้านแรกของระบบ WAGNER ให้ความสำคัญกับตัวไซโคลนเป็นอย่างมากเพราะทำหน้าที่หลักในการดักและดูดสีฝุ่นคืนสู่ระบบการจ่ายสี อุปกรณ์ไซโคลนของ WAGNER สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด EEP ดังนั้นไซโคลนทุกตัวมีประสิทธิภาพสูงและไว้ใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้

ตัวกรองสุดท้าย
ด้านสุดท้ายของระบบที่ตอกย้ำความน่าเชื่อถือและแสดงให้ถึงประสิทธิภาพของแนวคิด EEP ตัวกรองสุดท้ายทำหน้าที่ดักจับสีฝุ่นที่หลุดรอดมาจากตัวไซโคลนและมันสามารถเก็บสีฝุ่นและนำไปใช้งานใหม่ได้อีก ผลพลอยได้คือทำให้สีฝุ่นไม่มีหลุดออกมานอกระบบทำให้ระบบพ่นสีฝุ่นไม่มีการสร้างมลภาวะใด ๆ ทั้งสิ้น