GA5000 EAC (AIR COAT)
ปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตระบบอัตโนมัติ
ในรูปแบบอากาศผสมแรงดันสูง

ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตอัตโนมัติสำหรับสีน้ำมัน GA5000EAC
สำหรับชิ้นงานที่เป็นงานผลิตเครื่องจักรขนาดใหญ่หรือชิ้นงานขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนที่ต้องใช้แรงดันสูงในการพ่นเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน
การพ่นด้วยแรงดันสูงภายใต้การใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิต
ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตอัตโนมัติรุ่น GA5000EAC ได้ถอดแบบระบบพ่นมาจากรุ่น GM5000EAC ที่เป็นแบบควบคุมด้วยตัวเองทุกอย่างทั้งหัวพ่น แอร์แคป หัวเข็มที่ใช้ชุดเดียวกันกับระบบอัตโนมัติหรือแม้แต่สายสีก็ใช้แบบเดียวกันแต่สิ่งที่แตกต่างกันคือโครงสร้างของ GA5000EAC ที่จะนำส่วนลำเลียงลมส่วนควบคุมการเปิดปิดการทำงานพ่นสีที่มาแทนด้ามและไกปืนแทนเพื่อให้ใช้แรงดันลมในการเปิดปิดแทนดังนั้นสายลมสำหรับปืนรุ่นนี้จะใช้คนละแบบกับรุ่นควบคุมด้วยตัวเองอย่างสิ้นเชิงแต่อย่างไรก็ตามการใช้ระบบอากาศผสมแรงดันสูงจะใช้พื้นฐานเดียวกันตามคำอธิบายด้านล่าง
ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่เช่นเครื่องจักรที่ผลิตตามคำสั่ง แท๊งค์น้ำ ตู้เฟอร์นิเจอร์ที่มีเนื้อที่กว้างทำให้ระยะเวลาการพ่นสีต้องใช้มากกว่าการพ่นสีชิ้นงานแบบอื่นถึงแม้ว่าจะใช้เทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตเข้ามาช่วยก็ตาม เพื่อตอบสนองโจทย์การผลิตที่มีระยะเวลาจำกัดแต่ต้องการผลผลิตให้ได้มากขึ้นและประหยัดสีด้วย เราสามารถแบ่งเงื่อนไขและวิธีแก้ตอบสนองได้ตามนี้
1. พ่นสีได้รวดเร็ว กินพื้นที่ได้มากและใช้เวลาน้อยลง การพ่นสีแบบไร้อากาศแรงดันสูงเข้ามาแก้ไขจุดนี้ได้
2. ให้สีครอบคลุมชิ้นงานได้ทั่วถึงและมากที่สุด การพ่นสีแบบแรงดันอากาศที่พาม่านสีเข้าถึงชิ้นงานได้ดี
จาก 2 เงื่อนไขนี้จะเหลือการพ่นวิธีเดียวเท่านั้นคือการพ่นแบบอากาศผสมแรงดันสูง (WAGNER เรียกว่า AirCoat ทั่วไปจะเรียกว่า Air Assist Airless) โดยคำนี้มาจากการเอาจุดแข็งของ 2 ระบบมารวมกันคือการประสิทธิภาพการควบคุมม่านสีจากระบบแรงดันอากาศ (Air Spray) และเอาความเร็วในการพ่นแบบไร้อากาศแรงดันสูง (Airless) มาใช้งานด้วยกันโดยม่านสีจะมีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างหลักคือ ม่านสีไร้อากาศแรงดันสูง ที่พ่นด้วยแรงดันระดับ 100 - 150 บาร์ ขึ้นไปและใช้ม่านลมแรงดันต่ำเข้ามาช่วยควบคุมให้ม่านสีแรงดันสูงกระจายเข้าครอบคลุมชิ้นงานได้ทั่วถึงดีกว่าการพ่นด้วยแรงดันไร้อากาศอย่างเดียวผลก็คือสามารถพ่นสีด้วยความเร็วสูงที่ใช้เวลาได้น้อยลงแต่สียังสามารถครอบคลุมชิ้นงานได้ทั่วถึงนั้นเองและสำหรับ GA5000EAC ได้มาช่วยตอบสนองในเงื่อนไขข้อที่ 3
3. ลดการใช้สีได้น้อยลง เทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตช่วยให้สีเคลือบรอบชิ้นงานได้ทันทีทำให้ประหยัดสีและมีผลพลอยได้คือใช้ระยะเวลาได้เร็วขึ้นไปอีก
ดังนั้นการประสานจุดเด่นของ 3 องค์ประกอบทำให้ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตรุ่น GM5000EAC เป็นปืนที่พ่นได้รวดเร็ว ประสิทธิการเคลือบผิวสูงและประหยัดสีทำให้ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักจะใช้กับชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่
ส่วนประกอบปืนพ่นสีอัตโนมัติ GA5000EACIC (แบบปรับม่านสีที่ปืน)
ปืนอัตโนมัติทุกรุ่นจะมีแบ่งเป็นรุ่นย่อยสำหรับการปรับม่านสีอีกโดยรุ่นแรกจะเป็น GA5000EACIC ที่ปรับที่ตัวปืนโดยคำว่า IC มาจากคำว่า Internal Control หรือการปรับที่ภายในโดยจะมีโครงสร้างดังนี้

รายการส่วนประกอบของ GA5000EACIC
1. ปลอกหุ้มส่วนหน้าปืน
2. ปลอกหุ้มหัวพ่น
3. แอร์แคป (หัวพ่น)
4. หัวพ่นแบน
5. อะแดฟเตอร์ปืนพ่นสี (ตัวติดตั้งอุปกรณ์หลัก)
6. กระบอกลูกสูบ (Piston Housing)
7. ปลอกหุ้มส่วนท้ายปืน
8. กระบอกดิฟฟิวเซอร์ลม
9. ตัวปรับม่านสี
10. ตัวยึดปืน
11. สายสี
12. ซีลข้อต่อ
13. ข้อต่อสกรูของหัวพ่น
14. หัวสวมสำหรับรองรับหัวพ่น
15. หัวพ่นกลม
ส่วนประกอบของ GA5000EACIC

ตำแหน่งของการติดตั้งท้ายปืน GA5000EACIC
1. ตัวอุดรูสายลม (Dummy Plug)
2. เกลียวข้อต่อสายสีที่รองรับขนาด NPSM 1/4''
3. ข้อต่อรองรับสายลมส่วนควบคุมขนาดวงนอก 6 มม.
4. ขั้วต่อสายไฟปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต
5. ข้อต่อรองรับสายลมส่วนพ่นสีและปรับม่านสีขนาดวงนอก 10 มม.
ตัวอย่างการติดตั้งสายที่ท้ายปืน GA5000EAIC
ส่วนประกอบปืนพ่นสีอัตโนมัติ GA5000EACEC (แบบปรับม่านสีที่ตู้ควบคุม)
รุ่นย่อยอีกรุ่นหนึ่งคือ GA5000EACEC โดยคราวนี้ม่านสีต้องมาปรับที่ตู้ควบคุม EPG5000 แทนโดยคำว่า EC มาจากคำว่า External Control หรือการปรับที่ภายนอกปืนพ่นสีซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้มากขึ้นเหมาะกับห้องพ่นที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงปืนพ่นสีและที่สำคัญนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ตู้ควบคุม VM5000 ไม่สามารถใช้กับปืนพ่นสีระบบอัตโนมัติได้เพราะต้องมีตัวปรับม่านสีโดยจะมีโครงสร้างดังนี้

รายการส่วนประกอบของ GA5000EACEC
1. ปลอกหุ้มส่วนหน้าปืน
2. ปลอกหุ้มหัวพ่น
3. แอร์แคป (หัวพ่น)
4. หัวพ่นแบน
5. อะแดฟเตอร์ปืนพ่นสี (ตัวติดตั้งอุปกรณ์หลัก)
6. กระบอกลูกสูบ (Piston Housing)
7. ปลอกหุ้มส่วนท้ายปืน
8. กระบอกดิฟฟิวเซอร์ลม
9. ตัวยึดปืน
10. สายสี
11. ซีลข้อต่อ
12. ข้อต่อสกรูของหัวพ่น
13. หัวสวมสำหรับรองรับหัวพ่น
14. หัวพ่นกลม

ตำแหน่งของการติดตั้งท้ายปืน GA5000EACEC
1. ข้อต่อรองรับสายลมส่วนพ่นขนาด 10 มม.
2. เกลียวข้อต่อสายสีที่รองรับขนาด NPSM 1/4''
3. ข้อต่อรองรับสายลมส่วนควบคุมขนาดวงนอก 6 มม.
4. ขั้วต่อสายไฟปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต
5. ข้อต่อรองรับสายลมส่วนปรับม่านสีขนาด 8 มม.
หมายเหตุ:
ข้อแตกต่างระหว่าง EACIC และ EACEC ที่ชัดเจนที่สุดคือตำแหน่งที่ 1 ซึ่งในส่วนของ EACEC ต้องเพิ่มสายลมขนาดวงนอก 10 มม. ในส่วนพ่นเข้ามาที่ตำแหน่งนี้ ในขณะที่ลมส่วนปรับม่านสีจะย้ายมาอยู่ที่ตำแหน่งที่ 5 ซึ่งมีหน้าที่เชื่อมต่อกับตู้ EPG5000
นอกจากนี้ส่วนข้อต่อสายลมอื่น ๆ ในแต่ละขนาดของ EACEC อยู่คนละตำแหน่งกับรุ่น EACIC
ตัวอย่างการติดตั้งสายที่ท้ายปืน GA5000EAEC
การปรับม่านสีของ GA5000EAC

การปรับม่านสีแบบ EACIC
ตำแหน่ง A คือเกลียวปรับม่านสีที่ผู้ใช้ต้องมาปรับที่ปืนด้วยตัวเอง

การปรับม่านสีแบบ EACEC
ม่านสีจะถูกปรับที่ตู้ควบคุม EPG5000 ในตำแหน่ง B ซึ่งตรงบริเวณจะเชื่อมกับปืนพ่นสีผ่านสายลมส่วนปรับม่านสี
ข้อมูลทางเทคนิคของปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิติ GA5000 EAC

ขนาดมิติของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GA5000EAC (หน่วยวัด "มม.")

มิติของปืนพ่นสี GA5000EAC ในกรณีติดหัวพ่นแบน

มิติของปืนพ่นสี GA5000EAC ในกรณีติดหัวพ่นกลม

มิติของข้อต่อในตัวปืนพ่นสี GA5000EAC
ข้อมูลค่าต้านทานของสีและลักษณะงานที่เหมาะสม
ค่าต้านทานของสีที่เหมาะสม
ค่าต้านทานของสีที่ใช้งานได้ดีที่สุดต้องมีอัตราที่ 150 กิโลโอห์มขึ้นไป ซึ่งมีผลทำให้ประจุไฟฟ้าสามารถถูกอัดและเข้าไปเหนี่ยวนำสีเข้าชิ้นงานได้โดยอัตโนมัติ
โดยทั่วไปสีที่ใช้พ่นด้วยแรงดันสูงมีมวลขนาดเล็กอยู่แล้วทำให้การอัดประจุไฟฟ้าเข้าสีได้ทันทีดังนั้นปัญหาค่าต้านทานของสีต่ำจะไม่มีในงานพ่นด้วยแรงดันสูง
สรุปประเภทชิ้นงานที่พ่นได้
-
ชิ้นส่วนขนาดกลางประเภทถังน้ำมัน ถังน้ำ ถังแก๊ซ
-
ท่อขนาดใหญ่
-
ชิ้นส่วนหม้อแปลงไฟฟ้า
-
ตู้เฟอร์นิเจอร์เหล็กหรือไม้ที่มีพื้นผิวเรียบสม่ำเสมอ
-
เครื่องจักรขนาดใหญ่
-
แผ่นเหล็กขนาดใหญ่
-
ชิ้นงานที่ใช้ในการประกอบกับงานก่อสร้าง


ส่วนประกอบของห้องพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตอัตโนมัติ
A: ห้องพ่นสี
B: ตัวควบคุมการทำงาน
C: แขนกลขึ้นลงแนวดิ่ง
D: ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตอัตโนมัติ
E: ชิ้นงาน
F: สายพานลำเลียง
ตัวอย่างห้องพ่นสีสำหรับระบบอัตโนมัติ
ความหนืดของสีที่ GA5000EAC รองรับได้
สำหรับความหนืดของสีนั้นจะอ้างอิงตัวน้ำยาแลคเกอร์เป็นหลักและค่าที่แนะนำจะอ้างอิงการวัดด้วยถ้วยวัดความหนืดแบบ DIN Cup 4 ซึ่งเป็นถ้วยวัดความหนืดที่มีขนาดความกว้างของรูสีไหลอยู่ที่ 4 มม.
ความหนืดที่เหมาะสมจะอยู่ที่ระหว่าง 25 และ 40 วินาที DIN หรือแม้แต่ความหนืดในระดับ 60 วินาที DIN ก็ยังใช้การได้สำหรับงานที่ต้องการผิวหนาซึ่งอ้างอิงจากตารางที่ลิ้งค์ด้านล่างโดยใช้คอลัมภ์ DIN CUP 4MM เป็นหลัก (หมายเหตุ: DIN4 คือมาตรวัดความหนืดของสีที่เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมันซึ่งจะใช้หน่วยวัดเป็นวินาทีโดยนับจากระยะเวลาการไหลของสีจากถ้วย เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น ตารางด้านล่างจะเป็นการเทียบกับหน่วยวัดมาตรฐานของหน่วยอื่น ๆ)
คำแนะนำการดูตารางสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5000EAC
ค่าความหนืดอยู่ที่ระหว่าง 25 และ 40 วินาที DIN Cup 4 นั้นหมายความว่าหากใช้ค่ามาตรฐานอื่นนอกจากนี้ให้อ้างอิงตัวเลขที่อยู่ในแถวที่ 10 ถึงแถวที่ 15 ตามตารางด้านซ้าย ดังนั้นค่าความหนืดตามมาตรฐานที่อยู่ในแถวเดียวกันก็ใช้ได้ ยกตัวอย่างหากคุณใช้ถ้วยวัดความหนืด ANEST IWATA NK-2 ค่าที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่างที่ 25 วินาที NK-2 ถึง 49 วินาที NK-2 เป็นต้น
อุปกรณ์ใช้งานร่วมของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GA5000EAC
(โปรดคลิ๊กที่ปุ่ม "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)

ตู้ควบคุมไฟฟ้า EPG5000
ตู้ไฟสำหรับใช้งานกับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตสูตรสีน้ำมันเท่านั้นโดยจะรองรับการใช้งานร่วมกับปืนรุ่น GA5000EA (แรงดันอากาศ) และ GA5000EAC (อากาศผสมแรงดันสูง) โดยมีหน้าที่หลักคือปรับค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปืนพ่นสีได้ทั้งค่าแรงดันไฟฟ้าและค่ากระแสไฟฟ้า ไม่สามารถใช้กับรุ่นบังคังเองและปืนสำหรับสีสูตรน้ำ
ตัวจ่ายสีที่เหมาะสมสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GA5000EAC
(โปรดคลิ๊กที่ปุ่ม "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)


