ปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตแบบอัตโนมัติ
ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตของ WAGER แบบอัตโนมัติที่มีน้ำหนักเบาลดภาระของแขนกลหรือตัวยึดปืนแบบอื่น ๆ ทำให้ขยับปืนได้สะดวก ใช้งานได้มีประสิทธิภาพและทนทานมากตลอดอายุการใช้งาน ปัจจุบัน WAGNER ได้สร้างปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตออกมา 2 รุ่นสำหรับงานพ่นแบบแรงดันอากาศ (Air Spray) สำหรับชิ้นงานขนาดเล็กที่ต้องการคุณภาพการเคลอบผิวที่ดีที่สุด และแรงดันอากาศผสม (พ่นด้วยแรงดันสูงและควบคุมม่านสีด้วยแรงดันอากาศต่ำหรือเรียกกันว่า AirCoat) สำหรับชิ้นงานขนาดใหญ่และต้องการใช้เวลาพ่นที่น้อยที่สุด แต่สุดท้ายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนคุณสมบัติหลักของปืนประเภทนี้คือการประหยัดสีน้ำมันนั้นเอง
สีน้ำมันที่สามารถนำมาใช้ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตรุ่นนี้
สีน้ำมันที่จะนำมาใช้ได้นั้นต้องมีค่าต้านทานสีมากกว่า 150 กิโลโอห์มเพื่อให้ประจุไฟฟ้าที่อัดเข้าไปในสีสามารถเหนี่ยวนำและพาสีเคลือบชิ้นงานได้ทั่วถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสีที่ใช้ได้จะมีดังนี้
-
สี 1K (สีองค์ประกอบเดียวที่ผสมกับตัวทำละลายแล้วใช้ได้ทันที)
-
สี 2K (สี 2 องค์ประกอบที่จะต้องผสมตัวเร่งปฏิกิริยาให้แข็งตัวเร็ว หากใช้สีประเภทนี้ ในระบบพ่นสีต้องมีการใช้อุปกรณ์และระบบผสมสี 2K)
-
สีน้ำมันที่มีความหนืดในระดับต่ำ กลาง สูง
-
น้ำยา (Release Agent)
-
แลคเกอร์เคลือบผิวชั้นทับหน้าหรือที่เรียกกันว่าพ่นเคลียร์
-
สียูวี (ต้องนำมาใช้ภายใต้คำแนะนำของผู้ผลิตสีอย่างระมัดระวังเพราะจะมีเรื่องปฏิกิริยาไวต่อแสงจนทำให้สภาพเคมีเปลี่ยนแปลงไป)
อย่างไรก็ตามปืนรุ่นนี้สามารถนำไปใช้กับสีที่มีสภาพสื่อนำไฟฟ้าสูงหรือสีที่มีมวลขนาดใหญ่แต่ต้องติดอุปกรณ์เสริมอย่างหัวขดลำเลียงสีซึ่งสีประเภทนี้เป็นสีที่มีค่าต้านทานต่ำเลยเป็นเหตุที่ต้องใช้หัวขดเพื่อช่วยในเรื่องอัดประจุไฟฟ้าเข้าไปในสี ตัวอย่างของสีลักษณะนี้มีดังต่อไปนี้
-
สีเมทัลลิค (สีผสมเกล็ดโลหะ)
-
สีที่มีมวลขนาดใหญ่
สำหรับตัวหัวขดนั้นจะมีอธิบายอย่างละเอียดพร้อมภาพประกอบในหมวดอุปกรณ์ใช้งานร่วม แต่ทว่าปืนรุ่นนี้ (GA5000) ไม่สามารถนำไปใช้กับสีสูตรน้ำได้ทุกกรณี
.jpg)
ปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตแบบแรงดันอากาศ

ปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตแบบอากาศผสมแรงดันสูง
ข้อมูลทางเทคนิคปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตและตู้ควบคุมการทำงาน
ข้อมูลทางเทคนิคจะนำเสนอแบบแยกออกมาเป็น 3 รายการหลักโดยจะแบ่งเป็นปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตแบบแรงดันอากาศ ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตแบบอากาศผสมแรงดันสูง (AirCoat) และตู้ควบคุมการทำงาน EPG5000 ที่ใช้กับปืนพ่นสีทั้ง 2 แบบได้ โดยเฉพาะข้อมูลทางเทคนิคของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตจะมีนำเสนอคู่กับอุปกรณ์ใช้งานร่วมเช่นหัวพ่น แอร์แคป สายสีและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยข้อมูลจะมีดังต่อไปนี้
(โปรดคลิ๊ก "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเชิงลึกในแต่ละหัวข้อ)
1. ปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตแบบแรงดันอากาศ GA5000EA (Air Spray)
ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GA5000EA
ปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตแบบแรงดันอากาศ (Air Spray)
ด้วยประสบการณ์ที่มีมาอย่างยาวนานของ WAGNER ในปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตสามารถออกแบบและสร้างปืนพ่นสีที่ใช้งานพ่นแบบแรงดันอากาศให้มีประสิทธิภาพสูงและให้การเคลือบผิวชิ้นงานในแต่ละชิ้นออกมามีความสม่ำเสมอและการพ่นสีได้หลากหลายประเภทได้
ประเภทงานที่เหมาะสม
-
งานผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กหรือมีความซับซ้อนสูงที่ใช้สีเป็นจำนวนมาก
-
อุตสาหกรรมที่นิยมใช้คือโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต

2. ปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตแบบอากาศผสมแรงดันสูง GM5000EAC (Air Coat)

ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GA5000EAC
ปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตแบบอากาศผสมแรงดันสูง (Air Coat)
การประสานเข้าด้วยกันของ 3 เทคโนโลยีคือการพ่นสีแรงดันอากาศ การพ่นสีแรงดันไร้อากาศและไฟฟ้าสถิตทำให้ปืนพ่นสีตัวนี้กลายเป็นปืนพ่นสีอากาศผสมด้วยแรงดันสูงและมีคุณสมบัติการอัดประจุไฟฟ้าเข้าสีให้เกิดการเหนี่ยวนำชิ้นงานได้ทำให้ประสิทธิภาพการเคลือบผิวดีเยี่ยม ให้ผลผลิตในจำนวนมากและสร้างม่านสีในเคลือบรอบให้ทรงประสิทธิภาพ
ประเภทงานที่เหมาะสม
-
งานผลิตชิ้นงานขนาดใหญ่หรืองานผลิตเครื่องจักรตามคำสั่ง
-
ชิ้นงานขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนสูงเลยเป็นเหตุให้ต้องใช้ระบบอากาศผสมแรงดันสูง
3. ตู้ควบคุมการทำงานปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิต EPG5000

ตู้ควบคุมไฟฟ้า EPG5000
ตู้ควบคุมปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิต EPG5000
ตู้ควบคุมที่จะแสดงค่าไฟฟ้าออกมาตามเวลาใช้งานจริงเพื่อให้ได้การพ่นสีที่มีประสิทธิภาพทุกเงื่อนไขการใช้งานดังนั้นสามารถตั้งค่าไฟฟ้าแรงสูงและกระแสไฟฟ้าเพื่อให้มีความเหมาะสมกับชิ้นงานในแต่ละรูปแบบได้ สำหรับ EPG5000 เป็นตู้ทำมาสำหรับงานพ่นสีน้ำมันและรองรับการใช้งานกับปืนพ่นสีอัตโนมัติ ไม่สามารถนำไปใช้งานพ่นสีสูตรน้ำเป็นอันขาด
ประเภทงานที่เหมาะสม
-
ใช้กับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตรุ่น GA5000EA และ GA5000EAC เท่านั้น
-
มีสูตรบันทึกไว้ในเครื่องได้แค่ 3 สูตรและมาเปลี่ยนได้ที่ตู้ควบคุมเท่านั้น