GA5000 EAW (AIR SPRAY)
ปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิตระบบอัตโนมัติ
ในรูปแบบแรงดันอากาศ
.jpg)
ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตอัตโนมัติสำหรับสีสูตรน้ำ GA5000EAW
สำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่ใช้สีในจำนวนมหาศาล ด้วยคุณสมบัติของปืนพ่นสีตัวนี้ช่วยประหยัดปริมาณการใช้สีได้ในจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ
การประสานพลังร่วมกันระหว่างไฟฟ้าสถิตและการพ่นสีแบบแรงดันอากาศ
ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตอัตโนมัติรุ่น GA5000EAW ได้ถอดแบบระบบพ่นมาจากรุ่น GM5000EAW ที่เป็นแบบควบคุมด้วยตัวเองทุกอย่างทั้งหัวพ่น แอร์แคป หัวเข็มที่ใช้ชุดเดียวกันกับระบบอัตโนมัติ แตกต่างกันคือโครงสร้างของ GA5000EA ที่จะนำส่วนลำเลียงลมส่วนควบคุมการเปิดปิดการทำงานพ่นสีที่มาแทนด้ามและไกปืนแทนเพื่อให้ใช้แรงดันลมในการเปิดปิดแทนดังนั้นสายลมสำหรับปืนรุ่นนี้จะใช้คนละแบบกับรุ่นควบคุมด้วยตัวเองอย่างสิ้นเชิงแต่อย่างไรก็ตามการใช้ระบบแรงดันอากาศจะใช้พื้นฐานเดียวกันตามคำอธิบายด้านล่าง
หากจะบอกว่าระบบพ่นสีที่ที่สุดและครอบคลุมทุกชิ้นงานมากที่สุดคือการพ่นแบบแรงดันอากาศ (Air Spray) ไม่ได้เกินความจริงแต่อย่างใด ลักษณะการพ่นที่ใช้ลมเป็นแรงผลักให้สีออกมาและตัวลมนี่แหละที่ทำให้สีฟุ้งกระจายออกมาได้กว้างที่สุด ทำให้ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนอย่างชิ้นส่วนขนาดเล็กในยานพาหนะ อากาศยาน บานประตูและอื่น ๆ ที่มีซอกมุมซับซ้อนทำให้การพ่นสีแบบแรงดันอากาศเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการพิจาราณาและเพื่อกำจัดปัญหาในระหว่างการพ่นด้วยแรงดันอากาศไม่ว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองสีจากการฟุ้งกระจายแบบไร้จุดหมายหรือโอกาสเกิดการพ่นทับซ้อนสูงมาก การนำเทคโนโลยีไฟฟ้าสถตเข้ามาใช้ร่วมกันเป็นการแก้ปัญหาให้ถูกจุด
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าไฟฟ้าสถิตคือการเหนี่ยวนำสีเข้าไปเคลือบชิ้นงานอัตโนมัติ การใช้ปืนพ่นสีแบบแรงดันอากาศร่วมกับคุณสมบัติเหนี่ยวนำสีทำให้ประสิทธิภาพการพ่นสีสูงขึ้นและช่วยประหยัดสีในจำนวนมหาศาล
ส่วนประกอบปืนพ่นสีอัตโนมัติ GA5000EAWIC (แบบปรับม่านสีที่ปืน)
ปืนอัตโนมัติทุกรุ่นจะมีแบ่งเป็นรุ่นย่อยสำหรับการปรับม่านสีอีกโดยรุ่นแรกจะเป็น GA5000EAWIC ที่ปรับที่ตัวปืนโดยคำว่า IC มาจากคำว่า Internal Control หรือการปรับที่ภายในโดยจะมีโครงสร้างดังนี้

รายการส่วนประกอบของ GA5000EAWIC
1. ปลอกหุ้มส่วนหน้าปืน
2. ปลอกหุ้มหัวพ่น
3. แอร์แคป (หัวพ่น)
4. หัวพ่นแบน
5. อะแดฟเตอร์ปืนพ่นสี (ตัวติดตั้งอุปกรณ์หลัก)
6. ตัวปรับลมควบคุมม่านสี (Shaping Air)
7. กระบอกลูกสูบ (Piston Housing)
8. ก้านวาล์วของเกลียวปรับค่า
9. ปลอกหุ้มส่วนท้ายปืน
10. กระบอกดิฟฟิวเซอร์ลม
11. ตัวยึดปืน
12. สายสี
13. หัวพ่นกลม AR5000
14. แอร์แคป AR5000
15. ตัวสวมหัวพ่น EARV
16. หัวพ่น EAWRV
17. ปลอกหัวพ่น EARV
ส่วนประกอบของ GA5000EAWIC

ตำแหน่งของการติดตั้งท้ายปืน GA5000EAWIC
1. ตัวอุดรูสายลม (Dummy Plug)
2. เกลียวข้อต่อสายสีที่รองรับขนาด G1/4
3. ข้อต่อรองรับสายลมส่วนควบคุมขนาดวงนอก 6 มม.
4. ขั้วต่อสายไฟปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต
5. ข้อต่อรองรับสายลมส่วนพ่นสีขนาดวงนอก 10 มม.
ตัวอย่างการติดตั้งสายที่ท้ายปืน GA5000EAWIC

การปรับม่านสีแบบ EAWIC
ตำแหน่ง A คือเกลียวปรับม่านสีที่ผู้ใช้ต้องมาปรับที่ปืนด้วยตัวเองในขณะที่ตำแหน่ง B คือกระบอกรองรับก้านปรับซึ่งเกลียวปรับตัวนี้ให้ค่าความแม่นยำและคงที่เสมอ
การปรับม่านสีที่ตัวปืน
ส่วนประกอบปืนพ่นสีอัตโนมัติ GA5000EAWEC (แบบปรับม่านสีด้วยตัวปรับลมภายนอก)
รุ่นย่อยอีกรุ่นหนึ่งคือ GA5000EAEC โดยคราวนี้ม่านสีต้องมาปรับที่ตัวปรับลมภายนอกที่ติดตั้งเพิ่มเติมแทนโดยคำว่า EC มาจากคำว่า External Control หรือการปรับที่ภายนอกปืนพ่นสีซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้มากขึ้นเหมาะกับห้องพ่นที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงปืนพ่นสีโดยจะมีโครงสร้างดังนี้

รายการส่วนประกอบของ GA5000EAWEC
1. ปลอกหุ้มส่วนหน้าปืน
2. ปลอกหุ้มหัวพ่น
3. แอร์แคป (หัวพ่น)
4. หัวพ่นแบน
5. อะแดฟเตอร์ปืนพ่นสี (ตัวติดตั้งอุปกรณ์หลัก)
6. กระบอกลูกสูบ (Piston Housing)
7. ก้านวาล์วของเกลียวปรับค่า
8. ปลอกหุ้มส่วนท้ายปืน
9. กระบอกดิฟฟิวเซอร์ลม
10. ตัวยึดปืน
11. สายสี
12. หัวพ่นกลม AR5000
13. แอร์แคป AR5000
14. ตัวสวมหัวพ่น EARV
15. หัวพ่น EAWRV
16. ปลอกหัวพ่น EARV

ตำแหน่งของการติดตั้งท้ายปืน GA5000EAEC
1. ข้อต่อรองรับสายลมส่วนปรับม่านสีขนาด 8 มม.
2. เกลียวข้อต่อสายสีที่รองรับขนาด G1/4
3. ข้อต่อรองรับสายลมส่วนควบคุมขนาดวงนอก 6 มม.
4. ขั้วต่อสายไฟปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต
5. ข้อต่อรองรับส่วนพ่นสีขนาดวงนอก 10 มม.
หมายเหตุ:
ข้อแตกต่างระหว่าง EAWIC และ EAWEC ที่ชัดเจนที่สุดคือตำแหน่งที่ 1 ซึ่งในส่วนของ EAWEC ต้องเพิ่มสายลมขนาดวงนอก 8 มม. ที่จะต้องต่อเชื่อมระหว่างปืนพ่นสีกับตัวควบคุมลมภายนอกที่ติดตั้งเพิ่มเติมต่างหาก
ข้อมูลทางเทคนิคของปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิติ GA5000 EAW

ขนาดมิติของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GA5000EAW

มิติของปืนพ่นสี GA5000EAW ในกรณีติดหัวพ่นแบน
ตำแหน่ง A: 280 มม.
ตำแหน่ง C: 75 มม.
ตำแหน่ง D: 135 มม.

มิติของปืนพ่นสี GA5000EAW ในกรณีติดหัวพ่นกลม
ตำแหน่ง B: 280 มม.

มิติของข้อต่อในตัวปืนพ่นสี GA5000EAW
ตำแหน่ง E: 18 มม.
ตำแหน่ง F: 3.2 มม.
ตำแหน่ง G: 7 มม.
ตำแหน่ง H: 15.5 มม.
อัตราการพ่นสีของ GA5000EAW (อ้างอิงจากหัวพ่นกลม)

ข้อมูลค่าต้านทานของสีและลักษณะงานที่เหมาะสม
หัวพ่นกลม EAWRV 5000

หัวพ่นกลม AWR 5000 ขนาดรู 12 มม. (D12)

หัวพ่นกลม AWR 5000 ขนาดรู 8 มม. (D8)
หมายเหตุ
อัตรา กรัม/นาที = มล./นาที
อัตราการพ่นสีของ GA5000EAW (อ้างอิงจากหัวพ่นแบน)

เงื่อนไขการใช้หัวพ่นแบน
ระดับความหนืดที่ 22 วินาที DIN CUP 4 (หรือ 21 วินาที NK-2 ของถ้วย ANEST IWATA)
สายสียาว 7.5 ม. และวงในของสายสีที่ 6 มม.
หมายเหตุ
อัตรา กรัม/นาที = มล./นาที
ข้อมูลค่าต้านทานของสีและลักษณะงานที่เหมาะสม
ค่าต้านทานของสีที่เหมาะสม
ก่อนที่จะพูดถึงค่าต้านทานสีที่เหมาะสม ขออธิบายเกี่ยวกับประเภทของสีสูตรน้ำทั้งหมดก่อนซึ่งมีอยู่ 3 ประเภทมีดังนี้ (จะเรียกสีเป็นแลคเกอร์แทน)
-
ประเภทแลคเกอร์ที่ไม่ติดไฟ
-
ประเภทแลคเกอร์ที่ติดไฟยาก
-
ประเภทแลคเกอร์ที่ติดไฟ
จาก 3 ประเภททั้งหมดขอย้ำว่าเฉพาะแลคเกอร์สูตรน้ำประเภทไม่ติดไฟเท่านั้นที่จะนำมาใช้ในปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิตรุ่นนี้ได้ (รวมทั้งระบบพ่นสีน้ำไฟฟ้าสถิตทั้งระบบในชื่อของ Aqua Coat) และค่าต้านทานสีที่เหมาะสมจะอยู่ในระหว่าง 0.5 kOhm cm (กิโลโอห์มเซนติเมตร) และ 1 mOhm cm (เมก้าโอห์มเซนติเมตร)
ลักษณะงานที่ใช้กับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GA5000EAW
-
ไม่ว่าจะใช้งานแบบไหนก็ตามสีที่นำมาใช้ต้องเป็นสีหรือแลคเกอร์ที่ไม่ติดไฟ
-
ชิ้นส่วนยานยนต์ ยานพาหนะขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งในปัจจุบันนี้บางโรงงานเริ่มมีสัดส่วนการใช้สีสูตรน้ำเข้ามาบ้างแล้ว
-
ชิ้นส่วนอากาศยานซึ่งมีข้อกำหนดต้องใช้สีสูตรน้ำแบบไม่ติดไฟ
-
งานเฟอร์นิเจอร์ไม้ (ไม้โกงกางหรือไม้ที่มีค่าความชื้นภายใน) ที่มีความซับซ้อนสูง
-
งานโลหะแต่ต้องเป็นโลหะประเภทสแตนเลสหรือโลหะที่โดนน้ำแล้วไม่เป็นสนิม
-
งานพ่นพลาสติกหรือแก้ว (ที่ต้องเคลือบน้ำยาฉนวนล่อไฟฟ้ามาแล้วเท่านั้น)
-
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ห้องพ่นสีที่นำมาใช้งานต้องมีการวางระบบกราวน์และมีข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน

ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาน

แม้กระทั้งชิ้นส่วนเกี่ยวกับเครื่องยนต์เริ่มใช้สีสูตรน้ำเป็นส่วนผสมแล้ว
ความหนืดของสีที่ GA5000EA รองรับได้
สำหรับความหนืดของสีนั้นจะอ้างอิงตัวน้ำยาแลคเกอร์เป็นหลักและค่าที่แนะนำจะอ้างอิงการวัดด้วยถ้วยวัดความหนืดแบบ DIN Cup 4 ซึ่งเป็นถ้วยวัดความหนืดที่มีขนาดความกว้างของรูสีไหลอยู่ที่ 4 มม.
ความหนืดที่เหมาะสมจะอยู่ที่ระหว่าง 15 และ 30 วินาที DIN ซึ่งอ้างอิงจากตารางที่ลิ้งค์ด้านล่างโดยใช้คอลัมภ์ DIN CUP 4MM เป็นหลัก (หมายเหตุ: DIN4 คือมาตรวัดความหนืดของสีที่เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมันซึ่งจะใช้หน่วยวัดเป็นวินาทีโดยนับจากระยะเวลาการไหลของสีจากถ้วย เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น ตารางด้านล่างจะเป็นการเทียบกับหน่วยวัดมาตรฐานของหน่วยอื่น ๆ)
คำแนะนำการดูตารางสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GA5000EAW
ค่าความหนืดอยู่ที่ระหว่าง 15 และ 30 วินาที DIN Cup 4 นั้นหมายความว่าหากใช้ค่ามาตรฐานอื่นนอกจากนี้ให้อ้างอิงตัวเลขที่อยู่ในแถวที่ 5 ถึงแถวที่ 12 ตามตารางด้านซ้าย ดังนั้นค่าความหนืดตามมาตรฐานที่อยู่ในแถวเดียวกันก็ใช้ได้ ยกตัวอย่างหากคุณใช้ถ้วยวัดความหนืด ANEST IWATA NK-2 ค่าที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่างที่ 11 วินาที NK-2 ถึง 31 วินาที NK-2 เป็นต้น
อุปกรณ์ใช้งานร่วมของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GA5000EAW
(โปรดคลิ๊กที่ปุ่ม "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)

ตู้ควบคุมไฟฟ้า VM5020WA
ตู้ไฟสำหรับใช้งานกับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตสูตรสีน้ำเท่านั้นโดยจะรองรับการใช้งานร่วมกับปืนรุ่น GA5000EAW (แรงดันอากาศ) และ GA5000EACW (อากาศผสมแรงดันสูง) โดยมีหน้าที่หลักคือปรับค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปืนพ่นสีได้ทั้งค่าแรงดันไฟฟ้าและค่ากระแสไฟฟ้า ไม่สามารถใช้กับรุ่นควบคุมด้วยตัวเองและปืนสำหรับสีน้ำมัน
ตัวจ่ายสีที่เหมาะสมสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GA5000EAW
(โปรดคลิ๊กที่ปุ่ม "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)
คำแนะนำในการเลือกปั๊มใช้งานพ่นสี
เนื่องจากข้อมูลปั๊มพ่นสีจะนำเสนอทั้งแบบปกติและแบบผิวภายนอกเป็นสแตนเลสในหน้าเดียวกัน เพื่อให้ใช้กับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตสีสูตรน้ำได้นั้นขอแนะนำให้เลือกปั๊มที่เป็นรุ่นสแตนเลสหรือถ้าเป็นถังแรงดันต้องถังแบบสแตนเลสทั้งอันเพราะตัวปั๊มจะถูกบรรจุอยู่ในตู้พลาสติกตลอดเวลาการใช้งาน


