top of page

GM5020 EAW (AIR SPRAY)

ปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิตในรูปแบบแรงดันอากาศ

ENGLISH  

GM5020EAW ด้านหน้า

GM5020EAW ด้านหลัง

สำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่ใช้สีในจำนวนมหาศาล ด้วยคุณสมบัติของปืนพ่นสีตัวนี้ช่วยประหยัดปริมาณการใช้สีได้ในจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ

การประสานพลังร่วมกันระหว่างไฟฟ้าสถิตและการพ่นสีแบบแรงดันอากาศ

 

หากจะบอกว่าระบบพ่นสีที่ที่สุดและครอบคลุมทุกชิ้นงานมากที่สุดคือการพ่นแบบแรงดันอากาศ (Air Spray) ไม่ได้เกินความจริงแต่อย่างใด ลักษณะการพ่นที่ใช้ลมเป็นแรงผลักให้สีออกมาและตัวลมนี่แหละที่ทำให้สีฟุ้งกระจายออกมาได้กว้างที่สุด ทำให้ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนอย่างชิ้นส่วนขนาดเล็กในยานพาหนะ อากาศยาน บานประตูและอื่น ๆ ที่มีซอกมุมซับซ้อนทำให้การพ่นสีแบบแรงดันอากาศเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการพิจาราณาและเพื่อกำจัดปัญหาในระหว่างการพ่นด้วยแรงดันอากาศไม่ว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองสีจากการฟุ้งกระจายแบบไร้จุดหมายหรือโอกาสเกิดการพ่นทับซ้อนสูงมาก การนำเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตเข้ามาใช้ร่วมกันเป็นการแก้ปัญหาให้ถูกจุด

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าไฟฟ้าสถิตคือการเหนี่ยวนำสีเข้าไปเคลือบชิ้นงานอัตโนมัติ การใช้ปืนพ่นสีแบบแรงดันอากาศร่วมกับคุณสมบัติเหนี่ยวนำสีทำให้ประสิทธิภาพการพ่นสีสูงขึ้นและช่วยประหยัดสีในจำนวนมหาศาล

1

2

3

Aircap.png

แอร์แคป (หัวลม)

 

พื้นฐานการทำงานของการพ่นสีแรงดันอากาศคือแรงดัอากาศที่จะพ่นผ่านตัวแอรแคปซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สร้างม่านสีออกมาได้โดยตัวแอร์แคปจะมีทั้งสำหรับหัวพ่นแบนและหัวพ่นกลม สำหรับรายละเอียดให้ไปดูเพิ่มเติมในหมวดอุปกรณ์เสริม

Electrode.png

หัวพ่นและส่วนพ่นสี

 

ส่วนพ่นสีช่วยลดระยะเวลาการเปลี่ยนอะไรได้โดยที่ตัวปืนสามารถถอดเปลี่ยนหัวพ่นโดยไม่ต้องปล่อยแรงดันออกหรือทำการชำระล้างหัวพ่น (Flushig) ก่อนดำเนินการ รายละเอียดสำหรับหัวพ่นให้ไปดูเพิ่มเติมในส่วนอุปกรณ์ใช้งานร่วม

Product Move.png

การปรับม่านสี

 

ม่านสีจะถูกปรับขนาดได้สะดวกและแม่นยำเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการพ่นที่เหมาะสมในกรณีที่สีถูกลำเลียงเข้ามามีการปรับค่าอัตราการไหลที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ตำแหน่งอุปกรณสำคัญของปืนพ่นสี GM5020EAW

ข้อมูลทางเทคนิคของปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิติ GM5020 EAW

GM5020EAW สเปค ไทย.png

ขนาดมิติของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5020EAW

GM5020EAW Dimension Pic.png
GM5020EAW DIM THA.png

อัตราการพ่นสีสูตรน้ำของ GM5020EAW (อ้างอิงจากหัวพ่นกลม)

Flow Rate in THA.png

หัวพ่นกลม EAWRV 5000

Round Nozzle Flow Rate Graph 2.png

หัวพ่นกลม AWR 5000 ขนาดรู 12 มม. (D12)

Round Nozzle Flow Rate Graph 2.png

หัวพ่นกลม AWR 5000 ขนาดรู 8 มม. (D8)

หมายเหตุ

อัตรา กรัม/นาที = มล./นาที

อัตราการพ่นสีสูตรน้ำของ GM5020EAW (อ้างอิงจากหัวพ่นแบนเรียงตามขนาดหัวพ่น)

Flat Jet Flow Rate THA.png

เงื่อนไขการใช้หัวพ่นแบน

ระดับความหนืดที่ 22 วินาที DIN CUP 4 (หรือ 21 วินาที NK-2 ของถ้วย ANEST IWATA)

สายสียาว 7.5 ม. และวงในของสายสีที่ 6 มม.

หมายเหตุ

อัตรา กรัม/นาที = มล./นาที

ข้อมูลค่าต้านทานของสีและลักษณะงานที่เหมาะสม

ค่าต้านทานของสีที่เหมาะสม

ก่อนที่จะพูดถึงค่าต้านทานสีที่เหมาะสม ขออธิบายเกี่ยวกับประเภทของสีสูตรน้ำทั้งหมดก่อนซึ่งมีอยู่ 3 ประเภทมีดังนี้ (จะเรียกสีเป็นแลคเกอร์แทน)

  • ประเภทแลคเกอร์ที่ไม่ติดไฟ

  • ประเภทแลคเกอร์ที่ติดไฟยาก

  • ประเภทแลคเกอร์ที่ติดไฟ

จาก 3 ประเภททั้งหมดขอย้ำว่าเฉพาะแลคเกอร์สูตรน้ำประเภทไม่ติดไฟเท่านั้นที่จะนำมาใช้ในปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิตรุ่นนี้ได้ (รวมทั้งระบบพ่นสีน้ำไฟฟ้าสถิตทั้งระบบในชื่อของ Aqua Coat) และค่าต้านทานสีที่เหมาะสมจะอยู่ในระหว่าง 0.5 kOhm cm (กิโลโอห์มเซนติเมตร) และ 1 mOhm cm (เมก้าโอห์มเซนติเมตร)

ลักษณะงานที่ใช้กับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5020EAW

  • ไม่ว่าจะใช้งานแบบไหนก็ตามสีที่นำมาใช้ต้องเป็นสีหรือแลคเกอร์ที่ไม่ติดไฟ

  • ชิ้นส่วนยานยนต์ ยานพาหนะขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งในปัจจุบันนี้บางโรงงานเริ่มมีสัดส่วนการใช้สีสูตรน้ำเข้ามาบ้างแล้ว

  • ชิ้นส่วนอากาศยานซึ่งมีข้อกำหนดต้องใช้สีสูตรน้ำแบบไม่ติดไฟ

  • งานเฟอร์นิเจอร์ไม้ (ไม้โกงกางหรือไม้ที่มีค่าความชื้นภายใน) ที่มีความซับซ้อนสูง

  • งานโลหะแต่ต้องเป็นโลหะประเภทสแตนเลสหรือโลหะที่โดนน้ำแล้วไม่เป็นสนิม

  • งานพ่นพลาสติกหรือแก้ว (ที่ต้องเคลือบน้ำยาฉนวนล่อไฟฟ้ามาแล้วเท่านั้น)

  • ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ห้องพ่นสีที่นำมาใช้งานต้องมีการวางระบบกราวน์และมีข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน

Airplane Wing

ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาน

Engine

แม้กระทั้งชิ้นส่วนเกี่ยวกับเครื่องยนต์เริ่มใช้สีสูตรน้ำเป็นส่วนผสมแล้ว

Spray Booth at GM5020EAW.png

1

3

6

5

2

4

7

8

9

ขนาดสายไฟที่ใช้ในระบบขั้นต่ำ

ตู้พลาสติก AquaCoat - ใช้สายขนาดลวดตัวนำไฟฟ้าที่ 4 ตร.มม.

สายพาน - ใช้สายขนาดลวดตัวนำไฟฟ้าที่ 16 ตร.มม.

ห้องพ่นสี - ใช้สายขนาดลวดตัวนำไฟฟ้าที่ 16 ตร.มม.

แท่นพ่นสี - ใช้สายขนาดลวดตัวนำไฟฟ้าที่ 16 ตร.มม.

  • เพื่อให้ใช้งานระบบ AquaCoat ได้ปลอดภัย ต้องมีการลงกราวน์ (สายดิน) ทั้งระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  • เชื่อมต่อกับสายกราวน์ทั้งหมดโดยให้มีระยะที่สั้นและตรงจุดดึงไฟฟ้าออก

คำแนะนำสำหรับการใช้ตัวจ่ายสีและถังบรรจุสีกับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตสีสูตรน้ำ

  • ทั้งปั๊มจ่ายสี ถังแรงดัน ตัวชำระล้างและถังเทสีทิ้งต้องทำมาจากโลหะ

  • ทั้งปั๊มจ่ายสีหรือถังแรงดันต้องเชื่อมต่อกับสายกราวน์เพื่อให้ศักย์ไฟฟ้าเท่ากันและรวมถึงถังบรรจุสีก็ด้วย

องค์ประกอบของห้องพ่นที่ได้มาตรฐาน

  1. ตัวดูดไฟฟ้าลงสายดิน

  2. พื้นห้องที่เป็นฉนวนกันไฟฟ้า

  3. ตัวดูดไฟฟ้าลงสายดิน

  4. แท่นแขวนชิ้นงาน

  5. ตู้พลาสติกที่บรรจุปั๊มจ่ายสีและกักกันตัวจ่ายสีให้ทำงานเฉพาะภายใน

  6. ตู้ควบคุมการทำงาน VM5020W สำหรับปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิต

  7. ค่าต้านทานไฟฟ้าในส่วนสายดินสูงสุดไม่เกินกว่า 1 เมก้าโอห์มซึ่งส่วนนี้ทำหน้าที่ส่งกราวน์ไปยังที่แขวนชิ้นงาน

  8. ชิ้นงานที่ถูกแขวน

  9. สายพานลำเลียงชิ้นงาน

ชุดสำหรับคนพ่นสี

ให้ใช้ชุดพ่นสีที่ได้มาตรฐานทั่วไป โดยเฉพาะถุงมือและรองเท้าควรใช้วัสดุที่กระจายไฟฟ้าสถิตออกไปได้

ความหนืดของสีที่ GM5020EAW รองรับได้

สำหรับความหนืดของสีนั้นจะอ้างอิงตัวน้ำยาแลคเกอร์เป็นหลักและค่าที่แนะนำจะอ้างอิงการวัดด้วยถ้วยวัดความหนืดแบบ DIN Cup 4 ซึ่งเป็นถ้วยวัดความหนืดที่มีขนาดความกว้างของรูสีไหลอยู่ที่ 4 มม.

ความหนืดที่เหมาะสมจะอยู่ที่ระหว่าง 15 และ 30 วินาที DIN ซึ่งอ้างอิงจากตารางที่ลิ้งค์ด้านล่างโดยใช้คอลัมภ์ DIN CUP 4MM เป็นหลัก (หมายเหตุ: DIN4 คือมาตรวัดความหนืดของสีที่เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมันซึ่งจะใช้หน่วยวัดเป็นวินาทีโดยนับจากระยะเวลาการไหลของสีจากถ้วย เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น ตารางด้านล่างจะเป็นการเทียบกับหน่วยวัดมาตรฐานของหน่วยอื่น ๆ)

เอกสาร: ตารางความหนืดของสี

flat-2126884_1280.png

กรุณาคลิ๊กที่ไอคอนด้านซ้ายมือเพื่อดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลฉบับ 2 ภาษา

คำแนะนำการดูตารางสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5000EA

ค่าความหนืดอยู่ที่ระหว่าง 15 และ 30 วินาที DIN Cup 4 นั้นหมายความว่าหากใช้ค่ามาตรฐานอื่นนอกจากนี้ให้อ้างอิงตัวเลขที่อยู่ในแถวที่ 5 ถึงแถวที่ 12 ตามตารางด้านซ้าย ดังนั้นค่าความหนืดตามมาตรฐานที่อยู่ในแถวเดียวกันก็ใช้ได้ ยกตัวอย่างหากคุณใช้ถ้วยวัดความหนืด ANEST IWATA NK-2 ค่าที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่างที่ 11 วินาที NK-2 ถึง 31 วินาที NK-2 เป็นต้น

อุปกรณ์ใช้งานร่วมของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5020EAW

(โปรดคลิ๊กที่ปุ่ม "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)

csm_PIC_EQU_VM_5020_-_rechts_2c6de2424b.

ตู้ควบคุมไฟฟ้า VM5020W

ตู้ไฟสำหรับใช้งานกับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตสูตรสีน้ำเท่านั้นโดยจะรองรับการใช้งานร่วมกับปืนรุ่น GM5020EAW (แรงดันอากาศ) และ GM5020EACW (อากาศผสมแรงดันสูง) โดยมีหน้าที่หลักคือปรับค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปืนพ่นสีได้ทั้งค่าแรงดันไฟฟ้าและค่ากระแสไฟฟ้า ไม่สามารถใช้กับรุ่นอัตโนมัติและปืนสำหรับสีน้ำมัน

Finishing Quality.png

หัวพ่นและแอร์แคป (แรงดันอากาศ)

 

ข้อมูลทางเทคนิคสำหรับหัวพ่นและแอร์แคปที่ใช้งานกับรุ่น GM5020EAW เท่านั้นโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือส่วนหัวพ่นแบนและหัวพ่นกลม

Hose Package for GM5020EAW.jpg

ชุดสายสำหรับปืนพ่นสีสูตรน้ำ

 

ชุดสายจะประกอบไปด้วยสายสีที่ออกแบบมาสำหรับปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิต สายลมและสายไฟที่ใช้งานกับปืนพ่นสี GM5020EAW เท่านั้น โดยเฉพาะสายสีจะใช้วัสดุที่ทนกับสีสูตรน้ำได้เป็นอย่างดี

wagner-paint-resistance-meter-rs-500.jpg

ตัววัดค่าต้านทานของสี

 

ถ้าไม่แน่ใจว่าสีของคุณจะใช้ได้กับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตได้หรือไม่ WAGNER มีตัวช่วยอย่างตัววัดค่าต้านทานของสีรุ่น WAGNER RS500 ที่แสดงค่าต้านทานตั้งหลัก ohm Kohm จนไปถึง Mohm เลยทีเดียว

ตัวจ่ายสีที่เหมาะสมสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5020EAW

(โปรดคลิ๊กที่ปุ่ม "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม )

คำแนะนำในการเลือกปั๊มใช้งานพ่นสี

เนื่องจากข้อมูลปั๊มพ่นสีจะนำเสนอทั้งแบบปกติและแบบผิวภายนอกเป็นสแตนเลสในหน้าเดียวกัน เพื่อให้ใช้กับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตสีสูตรน้ำได้นั้นขอแนะนำให้เลือกปั๊มที่เป็นรุ่นสแตนเลสหรือถ้าเป็นถังแรงดันต้องถังแบบสแตนเลสทั้งอันเพราะตัวปั๊มจะถูกบรรจุอยู่ในตู้พลาสติกตลอดเวลาการใช้งาน

IMG_7480.jpg

ปั๊มไดอะแฟรม

  • WAGNER ZIP52 Finishing

  • WAGNER DD10

S__93929503.jpg

ถังแรงดัน

  • ANEST IWATA COT

2K Comfort Internal.png

ระบบผสมสี 2K

  • WAGNER Twin Control

  • WAGNER 2K Smart

  • WAGNER 2K Comfort

กลับไปที่

หน้าปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิต

ติดต่อ

ขอใบเสนอราคาและสั่งซื้อ

bottom of page