GM5020 EACW (AIR COAT)
ปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิตในรูปแบบอากาศผสมแรงดันสูง

GM5020EACW ด้านหน้า

GM5020EACW ด้านหลัง
สำหรับชิ้นงานที่เป็นงานผลิตเครื่องจักรขนาดใหญ่หรือชิ้นงานขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนที่ต้องใช้แรงดันสูงในการพ่นเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน
การพ่นด้วยแรงดันสูงภายใต้การใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิต
ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่เช่นเครื่องจักรที่ผลิตตามคำสั่ง แท๊งค์น้ำ ตู้เฟอร์นิเจอร์ที่มีเนื้อที่กว้างทำให้ระยะเวลาการพ่นสีต้องใช้มากกว่าการพ่นสีชิ้นงานแบบอื่นถึงแม้ว่าจะใช้เทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตเข้ามาช่วยก็ตาม เพื่อตอบสนองโจทย์การผลิตที่มีระยะเวลาจำกัดแต่ต้องการผลผลิตให้ได้มากขึ้นและประหยัดสีด้วย เราสามารถแบ่งเงื่อนไขและวิธีแก้ตอบสนองได้ตามนี้
1. พ่นสีได้รวดเร็ว กินพื้นที่ได้มากและใช้เวลาน้อยลง การพ่นสีแบบไร้อากาศแรงดันสูงเข้ามาแก้ไขจุดนี้ได้
2. ให้สีครอบคลุมชิ้นงานได้ทั่วถึงและมากที่สุด การพ่นสีแบบแรงดันอากาศที่พาม่านสีเข้าถึงชิ้นงานได้ดี
จาก 2 เงื่อนไขนี้จะเหลือการพ่นวิธีเดียวเท่านั้นคือการพ่นแบบอากาศผสมแรงดันสูง (WAGNER เรียกว่า AirCoat ทั่วไปจะเรียกว่า Air Assist Airless) โดยคำนี้มาจากการเอาจุดแข็งของ 2 ระบบมารวมกันคือการประสิทธิภาพการควบคุมม่านสีจากระบบแรงดันอากาศ (Air Spray) และเอาความเร็วในการพ่นแบบไร้อากาศแรงดันสูง (Airless) มาใช้งานด้วยกันโดยม่านสีจะมีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างหลักคือ ม่านสีไร้อากาศแรงดันสูง ที่พ่นด้วยแรงดันระดับ 100 - 150 บาร์ ขึ้นไปและใช้ม่านลมแรงดันต่ำเข้ามาช่วยควบคุมให้ม่านสีแรงดันสูงกระจายเข้าครอบคลุมชิ้นงานได้ทั่วถึงดีกว่าการพ่นด้วยแรงดันไร้อากาศอย่างเดียวผลก็คือสามารถพ่นสีด้วยความเร็วสูงที่ใช้เวลาได้น้อยลงแต่สียังสามารถครอบคลุมชิ้นงานได้ทั่วถึงนั้นเองและสำหรับ GM5020EACW ได้มาช่วยตอบสนองในเงื่อนไขข้อที่ 3
3. ลดการใช้สีได้น้อยลง เทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตช่วยให้สีเคลือบรอบชิ้นงานได้ทันทีทำให้ประหยัดสีและมีผลพลอยได้คือใช้ระยะเวลาได้เร็วขึ้นไปอีก
ดังนั้นการประสานจุดเด่นของ 3 องค์ประกอบทำให้ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตรุ่น GM5020EACW เป็นปืนที่พ่นได้รวดเร็ว ประสิทธิการเคลือบผิวสูงและประหยัดสีทำให้ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักจะใช้กับชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ตามภาพด้านล่างดังนี้ (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของการพ่นแบบอากาศผสม ขอให้คลิ๊กในลิ้งด้านล่าง)

เครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มาพร้อมบริเวณชิ้นงานบางส่วนที่มีความซับซ้อน การใช้ปืนพ่นสี GM5020EACW รองรับงานแบบนี้ได้ทันทีที่จะช่วยทั้งประหยัดสี ลดเวลาการใช้งานให้น้อยลงทำให้สุดท้ายช่วยเร่งผลผลิตให้มากขึ้นซึ่งรูปแบบนี้เองทำให้มีการนำไปใช้กับตู้เฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ได้หรือแม้แต่ชิ้นงานขนาดกลางเช่นถังเหล็ก ถังแก๊ซ แท๊งน้ำเล็กที่มีสภาพพื้นผิวที่เรียบเสมอทั้งชิ้นงานและบริเวณโค้งตามมุมเล็กน้อยสามารถใช้ปืนรุ่นนี้พ่นได้เช่นกัน
GM5020EACW สามารถใช้กับชิ้นงานขนาดยักษ์ได้เช่นกันเป็นการเร่งระยะเวลาการทำงานให้เสร็จเร็วขึ้นไปอีกและทำให้การเคลือบผิวมีความเป็นเนื้อเดียวสม่ำเสมอสูง

องค์ประกอบหลักของ GM5020EACW
1

2
3

แอร์แคป (หัวลม)
แอร์แคปของ EAC ทำหน้าที่พ่นม่านลมแรงดันต่ำเพื่อควบคุมม่านสีไร้อากาศแรงดันสูงให้ควบคุมการพ่นเคลือบได้มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการได้โดยจะมีแบ่งสำหรับหัวพ่นแบนและหัวพ่นกลม

หัวพ่น ACF 5000
หัวพ่นสำหรับรุ่น GM5020EACW เท่ากันโดยจะมีแบ่งสำหรับหัวพ่นแบนและหัวพ่นกลมเพื่อให้ม่านสีออกมาได้สมบูรณ์แบบที่สุด นอกจากนี้หากพ่นไปซักระยะและเกิดสีตันขึ้นมา คุณสามารถใส่หัวพ่นใหม่โดยการเปลี่ยนด้าน 180 องศาและพ่นออกเพื่อดันที่อุดตันออกจากหัวพ่นได้

ไส้กรองในปืนพ่นสี
เนื่องจากสีที่พ่นด้วยแรงดันสูต้องเป็นสีที่มีเนื้อเล็กละเอียดเพราะหัวพ่นปืนรุ่นนี้มีขนาดเล็กกว่าหัวพ่นรุ่นที่พ่นด้วยแรงดันอากาศ จำเป็นต้องมีตัวกรองด้านในเพื่อกรองตะกอนเพื่อป้องกันการอุดตันของหัวพ่นและสามารถเปลี่ยนตัวกรองได้โดยที่ไม่ต้องถอดสายสีเพื่อลดระยะเวลาการใช้งาน
รองรับแรงดันได้มากสุดถึง 250 บาร์
เพื่อให้ปืนพ่นสีรุ่นนี้รองรับกับความหนืดของสีได้สูงขึ้น GM5020EACW ต้องถูกออกแบบให้รองรับแรงดันได้มากสุดถึง 250 บาร์ซึ่งเทียบเท่ากับปืนพ่นสีไร้อากาศแรงดันสูงและยังเป็นปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตที่รองรับแรงดันได้มากที่สุดในท้องตลาดในเวลานี้ดังนั้นมันช่วยให้ใช้กับสีที่มีความหนืดสูงได้แม้กระทั้งใช้กับสายสีที่ยาวพิเศษก็ตาม
ข้อมูลทางเทคนิคของปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิติ GM5020 EACW

ขนาดมิติของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5020EACW

.png)

.png)
ข้อมูลค่าต้านทานของสีและลักษณะงานที่เหมาะสม
ค่าต้านทานของสีที่เหมาะสม
ก่อนที่จะพูดถึงค่าต้านทานสีที่เหมาะสม ขออธิบายเกี่ยวกับประเภทของสีสูตรน้ำทั้งหมดก่อนซึ่งมีอยู่ 3 ประเภทมีดังนี้ (จะเรียกสีเป็นแลคเกอร์แทน)
-
ประเภทแลคเกอร์ที่ไม่ติดไฟ
-
ประเภทแลคเกอร์ที่ติดไฟยาก
-
ประเภทแลคเกอร์ที่ติดไฟ
จาก 3 ประเภททั้งหมดขอย้ำว่าเฉพาะแลคเกอร์สูตรน้ำประเภทไม่ติดไฟเท่านั้นที่จะนำมาใช้ในปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิตรุ่นนี้ได้ (รวมทั้งระบบพ่นสีน้ำไฟฟ้าสถิตทั้งระบบในชื่อของ Aqua Coat) และค่าต้านทานสีที่เหมาะสมจะอยู่ในระหว่าง 0.5 kOhm cm (กิโลโอห์มเซนติเมตร) และ 1 mOhm cm (เมก้าโอห์มเซนติเมตร)
ลักษณะงานที่ใช้กับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5020EACW
-
ไม่ว่าจะใช้งานแบบไหนก็ตามสีที่นำมาใช้ต้องเป็นสีหรือแลคเกอร์ที่ไม่ติดไฟ
-
ชิ้นส่วนยานยนต์ ยานพาหนะขนาดกลางและขนาดใหญ่ซึ่งในปัจจุบันนี้บางโรงงานเริ่มมีสัดส่วนการใช้สีสูตรน้ำเข้ามาบ้างแล้ว
-
ชิ้นส่วนอากาศยานซึ่งมีข้อกำหนดต้องใช้สีสูตรน้ำแบบไม่ติดไฟ
-
งานเฟอร์นิเจอร์ไม้ (ไม้โกงกางหรือไม้ที่มีค่าความชื้นภายใน) ที่มีชิ้นงานใหญ่และพื้นผิวไม่ซับซ้อน
-
งานโลหะแต่ต้องเป็นโลหะประเภทสแตนเลสหรือโลหะที่โดนน้ำแล้วไม่เป็นสนิม
-
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ห้องพ่นสีที่นำมาใช้งานต้องมีการวางระบบกราวน์และมีข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน

ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาน

แท๊งค์เก็บเคมีเหลวที่ปืนพ่นสีแรงดันสูงช่วยประหยัดเวลาได้
ตัวอย่างห้องพ่นที่ใช้กับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5020EACW

1
3
6
5
2
4
7
8
9
ขนาดสายไฟที่ใช้ในระบบขั้นต่ำ
ตู้พลาสติก AquaCoat - ใช้สายขนาดลวดตัวนำไฟฟ้าที่ 4 ตร.มม.
สายพาน - ใช้สายขนาดลวดตัวนำไฟฟ้าที่ 16 ตร.มม.
ห้องพ่นสี - ใช้สายขนาดลวดตัวนำไฟฟ้าที่ 16 ตร.มม.
แท่นพ่นสี - ใช้สายขนาดลวดตัวนำไฟฟ้าที่ 16 ตร.มม.
-
เพื่อให้ใช้งานระบบ AquaCoat ได้ปลอดภัย ต้องมีการลงกราวน์ (สายดิน) ทั้งระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
-
เชื่อมต่อกับสายกราวน์ทั้งหมดโดยให้มีระยะที่สั้นและตรงจุดดึงไฟฟ้าออก
คำแนะนำสำหรับการใช้ตัวจ่ายสีและถังบรรจุสีกับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตสีสูตรน้ำ
-
ทั้งปั๊มจ่ายสี ถังแรงดัน ตัวชำระล้างและถังเทสีทิ้งต้องทำมาจากโลหะ
-
ทั้งปั๊มจ่ายสีหรือถังแรงดันต้องเชื่อมต่อกับสายกราวน์เพื่อให้ศักย์ไฟฟ้าเท่ากันและรวมถึงถังบรรจุสีก็ด้วย
องค์ประกอบของห้องพ่นที่ได้มาตรฐาน
-
ตัวดูดไฟฟ้าลงสายดิน
-
พื้นห้องที่เป็นฉนวนกันไฟฟ้า
-
ตัวดูดไฟฟ้าลงสายดิน
-
แท่นแขวนชิ้นงาน
-
ตู้พลาสติกที่บรรจุปั๊มจ่ายสีและกักกันตัวจ่ายสีให้ทำงานเฉพาะภายใน
-
ตู้ควบคุมการทำงาน VM5020W สำหรับปืนพ่นสีสูตรน้ำไฟฟ้าสถิต
-
ค่าต้านทานไฟฟ้าในส่วนสายดินสูงสุดไม่เกินกว่า 1 เมก้าโอห์มซึ่งส่วนนี้ทำหน้าที่ส่งกราวน์ไปยังที่แขวนชิ้นงาน
-
ชิ้นงานที่ถูกแขวน
-
สายพานลำเลียงชิ้นงาน
ชุดสำหรับคนพ่นสี
ให้ใช้ชุดพ่นสีที่ได้มาตรฐานทั่วไป โดยเฉพาะถุงมือและรองเท้าควรใช้วัสดุที่กระจายไฟฟ้าสถิตออกไปได้
ความหนืดของสีที่ GM5020EACW รองรับได้
สำหรับความหนืดของสีนั้นจะอ้างอิงตัวน้ำยาแลคเกอร์เป็นหลักและค่าที่แนะนำจะอ้างอิงการวัดด้วยถ้วยวัดความหนืดแบบ DIN Cup 4 ซึ่งเป็นถ้วยวัดความหนืดที่มีขนาดความกว้างของรูสีไหลอยู่ที่ 4 มม.
ความหนืดที่เหมาะสมจะอยู่ที่ระหว่าง 25 และ 40 วินาที DIN หรือแม้แต่ความหนืดในระดับ 60 วินาที DIN ก็ยังใช้การได้สำหรับงานที่ต้องการผิวหนาซึ่งอ้างอิงจากตารางที่ลิ้งค์ด้านล่างโดยใช้คอลัมภ์ DIN CUP 4MM เป็นหลัก (หมายเหตุ: DIN4 คือมาตรวัดความหนืดของสีที่เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมันซึ่งจะใช้หน่วยวัดเป็นวินาทีโดยนับจากระยะเวลาการไหลของสีจากถ้วย เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น ตารางด้านล่างจะเป็นการเทียบกับหน่วยวัดมาตรฐานของหน่วยอื่น ๆ)
คำแนะนำการดูตารางสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5020EACW
ค่าความหนืดอยู่ที่ระหว่าง 25 และ 40 วินาที DIN Cup 4 นั้นหมายความว่าหากใช้ค่ามาตรฐานอื่นนอกจากนี้ให้อ้างอิงตัวเลขที่อยู่ในแถวที่ 10 ถึงแถวที่ 15 ตามตารางด้านซ้าย ดังนั้นค่าความหนืดตามมาตรฐานที่อยู่ในแถวเดียวกันก็ใช้ได้ ยกตัวอย่างหากคุณใช้ถ้วยวัดความหนืด ANEST IWATA NK-2 ค่าที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่างที่ 25 วินาที NK-2 ถึง 49 วินาที NK-2 เป็นต้น
อุปกรณ์ใช้งานร่วมของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5020EACW
(โปรดคลิ๊กที่ปุ่ม "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)

ตู้ควบคุมไฟฟ้า VM5020W
ตู้ไฟสำหรับใช้งานกับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตสูตรสีน้ำเท่านั้นโดยจะรองรับการใช้งานร่วมกับปืนรุ่น GM5020EAW (แรงดันอากาศ) และ GM5020EACW (อากาศผสมแรงดันสูง) โดยมีหน้าที่หลักคือปรับค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปืนพ่นสีได้ทั้งค่าแรงดันไฟฟ้าและค่ากระแสไฟฟ้า ไม่สามารถใช้กับรุ่นอัตโนมัติและปืนสำหรับสีน้ำมัน
ตัวจ่ายสีที่เหมาะสมสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5020EACW
(โปรดคลิ๊กที่ปุ่ม "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)


