
GM5000 EA (AIR SPRAY)
ปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิตในรูปแบบแรงดันอากาศ
สำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่ใช้สีในจำนวนมหาศาล ด้วยคุณสมบัติของปืนพ่นสีตัวนี้ช่วยประหยัดปริมาณการใช้สีได้ในจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ

GM5000EA ด้านหน้า

GM5000EA ด้านหลัง
การประสานพลังร่วมกันระหว่างไฟฟ้าสถิตและการพ่นสีแบบแรงดันอากาศ
หากจะบอกว่าระบบพ่นสีที่ที่สุดและครอบคลุมทุกชิ้นงานมากที่สุดคือการพ่นแบบแรงดันอากาศ (Air Spray) ไม่ได้เกินความจริงแต่อย่างใด ลักษณะการพ่นที่ใช้ลมเป็นแรงผลักให้สีออกมาและตัวลมนี่แหละที่ทำให้สีฟุ้งกระจายออกมาได้กว้างที่สุด ทำให้ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนอย่างชิ้นส่วนขนาดเล็กในยานพาหนะ อากาศยาน บานประตูและอื่น ๆ ที่มีซอกมุมซับซ้อนทำให้การพ่นสีแบบแรงดันอากาศเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการพิจาราณาและเพื่อกำจัดปัญหาในระหว่างการพ่นด้วยแรงดันอากาศไม่ว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองสีจากการฟุ้งกระจายแบบไร้จุดหมายหรือโอกาสเกิดการพ่นทับซ้อนสูงมาก การนำเทคโนโลยีไฟฟ้าสถตเข้ามาใช้ร่วมกันเป็นการแก้ปัญหาให้ถูกจุด
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าไฟฟ้าสถิตคือการเหนี่ยวนำสีเข้าไปเคลือบชิ้นงานอัตโนมัติ การใช้ปืนพ่นสีแบบแรงดันอากาศร่วมกับคุณสมบัติเหนี่ยวนำสีทำให้ประสิทธิภาพการพ่นสีสูงขึ้นและช่วยประหยัดสีในจำนวนมหาศาล

1
2
3

แอร์แคป (หัวลม)
พื้นฐานการทำงานของการพ่นสีแรงดันอากาศคือแรงดัอากาศที่จะพ่นผ่านตัวแอรแคปซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สร้างม่านสีออกมาได้โดยตัวแอร์แคปจะมีทั้งสำหรับหัวพ่นแบนและหัวพ่นกลม สำหรับรายละเอียดให้ไปดูเพิ่มเติมในหมวดอุปกรณ์เสริม

หัวพ่นและส่วนพ่นสี
ส่วนพ่นสีช่วยลดระยะเวลาการเปลี่ยนอะไรได้โดยที่ตัวปืนสามารถถอดเปลี่ยนหัวพ่นโดยไม่ต้องปล่อยแรงดันออกหรือทำการชำระล้างหัวพ่น (Flushig) ก่อนดำเนินการ รายละเอียดสำหรับหัวพ่นให้ไปดูเพิ่มเติมในส่วนอุปกรณ์ใช้งานร่วม

การปรับม่านสี
ม่านสีจะถูกปรับขนาดได้สะดวกและแม่นยำเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการพ่นที่เหมาะสมในกรณีที่สีถูกลำเลียงเข้ามามีการปรับค่าอัตราการไหลที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
ตำแหน่งอุปกรณสำคัญของปืนพ่นสี GM5000EA
ข้อมูลทางเทคนิคของปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิติ GM5000 EA
.png)
ขนาดมิติของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5000EA
.png)

.png)
.png)
อัตราการพ่นสีของ GM5000EA (อ้างอิงจากหัวพ่นกลม)

หัวพ่นกลม EARV 5000


หัวพ่นกลม AR 5000 ขนาดรู 12 มม. (D12)
หัวพ่นกลม AR 5000 ขนาดรู 8 มม. (D8)
หมายเหตุ
อัตรา กรัม/นาที = มล./นาที
อัตราการพ่นสีของ GM5000EA (อ้างอิงจากหัวพ่นแบน)

เงื่อนไขการใช้หัวพ่นแบน
ระดับความหนืดที่ 22 วินาที DIN CUP 4 (หรือ 21 วินาที NK-2 ของถ้วย ANEST IWATA)
สายสียาว 7.5 ม. และวงในของสายสีที่ 6 มม.
หมายเหตุ
อัตรา กรัม/นาที = มล./นาที
ข้อมูลค่าต้านทานของสีและลักษณะงานที่เหมาะสม
ค่าต้านทานของสีที่เหมาะสม
ค่าต้านทานของสีที่ใช้งานได้ดีที่สุดต้องมีอัตราที่ 150 กิโลโอห์มขึ้นไป ซึ่งมีผลทำให้ประจุไฟฟ้าสามารถถูกอัดและเข้าไปเหนี่ยวนำสีเข้าชิ้นงานได้โดยอัตโนมัติ ยกเว้นสีเมทัลลิคที่มีเกล็ดโลหะทำให้ค่าต้านทานต่ำต้องใช้ตัวช่วยอย่างหัวขดลำเลียงสี
ลักษณะงานที่ใช้กับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5000EA
-
ชิ้นส่วนยานยนต์ ยานพาหนะขนาดเล็กและขนาดกลาง
-
งานเฟอร์นิเจอร์ไม้ (ไม้โกงกางหรือไม้ที่มีค่าความชื้นภายใน) ที่มีความซับซ้อนสูง
-
งานอลูมิเนียม งานโลหะที่มีขนาดชิ้นงานถึงขนาดกลาง
-
งานพ่นพลาสติกหรือแก้ว (ที่ต้องเคลือบน้ำยาฉนวนล่อไฟฟ้ามาแล้วเท่านั้น)
-
ชิ้นส่วนเฉพาะทางเช่นล้อแม็กซ์
-
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ห้องพ่นสีที่นำมาใช้งานต้องมีการวางระบบกราวน์และมีข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน

ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนสูงอย่างล้อแม็กซ์

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ห้องพ่นสีที่ใช้งานกับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต
ห้องพ่นสีที่ได้มาตรฐานสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตควรต้องจัดวางในรูปแบบของลักษณะนี้เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานตลอดการผลิต
ชุดสำหรับคนพ่นสี
ให้ใช้ชุดพ่นสีที่ได้มาตรฐานทั่วไป โดยเฉพาะถุงมือและรองเท้าควรใช้วัสดุที่กระจายไฟฟ้าสถิตออกไปได้
องค์ประกอบของห้องพ่นที่ได้มาตรฐาน
-
สายไฟ
-
ตู้ควบคุมการทำงานของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต
-
สายกราวน์ (สายดิน)
-
ปั๊มจ่ายสีหรือถังแรงดัน (ต้องเป็นตัวจ่ายสีที่ต้องใช้ในระบบพ่นสีแรงดันอากาศเท่านั้นเช่นปั๊มจ่ายสีไดอะแฟรม WAGNER ZIP52 หรือถังแรงดันเหล็ก ANEST IWATA ตระกูล PT และถังสแตนเลส ANEST IWATA ตระกูล COT)
-
ถังบรรจุสีสำหรับรองรับสีไหลย้อนกลับ
-
พื้นห้องพ่นที่สามารถกระจายไฟฟ้าสถิตออกไปได้
-
พื้นในส่วนบริเวณพ่นสี
-
ค่าต้านทานไฟฟ้าในส่วนสายดินสูงสุดไม่เกินกว่า 1 เมก้าโอห์มซึ่งส่วนนี้ทำหน้าที่ส่งกราวน์ไปยังที่แขวนชิ้นงาน
-
ชิ้นงานที่ถูกแขวน
-
สายพานลำเลียงชิ้นงาน
ความหนืดของสีที่ GM5000EA รองรับได้
สำหรับความหนืดของสีนั้นจะอ้างอิงตัวน้ำยาแลคเกอร์เป็นหลักและค่าที่แนะนำจะอ้างอิงการวัดด้วยถ้วยวัดความหนืดแบบ DIN Cup 4 ซึ่งเป็นถ้วยวัดความหนืดที่มีขนาดความกว้างของรูสีไหลอยู่ที่ 4 มม.
ความหนืดที่เหมาะสมจะอยู่ที่ระหว่าง 15 และ 30 วินาที DIN ซึ่งอ้างอิงจากตารางที่ลิ้งค์ด้านล่างโดยใช้คอลัมภ์ DIN CUP 4MM เป็นหลัก (หมายเหตุ: DIN4 คือมาตรวัดความหนืดของสีที่เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมันซึ่งจะใช้หน่วยวัดเป็นวินาทีโดยนับจากระยะเวลาการไหลของสีจากถ้วย เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น ตารางด้านล่างจะเป็นการเทียบกับหน่วยวัดมาตรฐานของหน่วยอื่น ๆ)
คำแนะนำการดูตารางสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5000EA
ค่าความหนืดอยู่ที่ระหว่าง 15 และ 30 วินาที DIN Cup 4 นั้นหมายความว่าหากใช้ค่ามาตรฐานอื่นนอกจากนี้ให้อ้างอิงตัวเลขที่อยู่ในแถวที่ 5 ถึงแถวที่ 12 ตามตารางด้านซ้าย ดังนั้นค่าความหนืดตามมาตรฐานที่อยู่ในแถวเดียวกันก็ใช้ได้ ยกตัวอย่างหากคุณใช้ถ้วยวัดความหนืด ANEST IWATA NK-2 ค่าที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่างที่ 11 วินาที NK-2 ถึง 31 วินาที NK-2 เป็นต้น
ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้กับปืนพ่นสี GM5000 EA

ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้ปืน GM5000EA พ่น
จากภาพประกอบ ชิ้นงานมีลักษณะเล็ก มีร่อง มีซอก มีร่องเป็นแผงเช่น แว่นตา เฟรมจักรยาน สปริงและล้อแม็กซ์ ชิ้นงานแบบนี้ต้องใช้การพ่นที่ใช้อากาศอัดเพื่อใช้การฟุ้งกระจายส่งสีเข้าไปเกาะชิ้นงาน เมื่อรวมกับประจุไฟฟ้าที่มีปรากฏการณ์เคลือบรอบแล้ว ทำให้สีเข้าชิ้นงานได้ รวดเร็ว ช่วยให้ประหยัดทั้งสีและเวลา
วีดีโอสาธิตการใช้งานปืนพ่นสี GM5000EA
คลิ๊กที่ไอคอนด้านซ้ายเพื่อชมวีดีโอ
คลิ๊กที่ไอคอนด้านซ้ายเพื่อชมข้อมูลจากต้นฉบับ
Video Credit:
Company: ROM INTERTRADE
Territory: Thailand
URL for WAGNER Original Content: https://www.wagner-group.com/en/industry/products/liquid-coating/product/gm-5000ea/
อุปกรณ์ใช้งานร่วมของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5000EA
(โปรดคลิ๊กที่ปุ่ม "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)

ตู้ควบคุมไฟฟ้า VM5000
ตู้ไฟสำหรับใช้งานกับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตสูตรสีน้ำมันเท่านั้นโดยจะรองรับการใช้งานร่วมกับปืนรุ่น GM5000EA (แรงดันอากาศ) และ GM5000EAC (อากาศผสมแรงดันสูง) โดยมีหน้าที่หลักคือปรับค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปืนพ่นสีได้ทั้งค่าแรงดันไฟฟ้าและค่ากระแสไฟฟ้า ไม่สามารถใช้กับรุ่นอัตโนมัติและปืนสำหรับสีสูตรน้ำ
ตัวจ่ายสีที่เหมาะสมสำหรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต GM5000EA
(โปรดคลิ๊กที่ปุ่ม "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)


