
ปั๊มไดอะแฟรมสำหรับงานถ่ายเทของเหลว
ปั๊มไดอะแฟรมสำหรับถ่ายเทของเหลวเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ระบบพ่นสีขนาดใหญ่ต้องมีด้วยจุดประสงค์ดังกล่าวดังนี้
-
ช่วยลำเลียงสีที่มาจากถังสีขนาดใหญ่และส่งต่อไปยังปั๊มจ่ายสีอีกตัวเนื่องจากตำแหน่งของถังสีกับปั๊มที่จ่ายให้ระบบพ่นสีไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้จึงต้องใช้ปั๊มถ่ายเทของเหลวมาช่วย
-
ทำหน้าที่หมุนเวียนในระบบพ่นสีเพื่อให้มีการไหลเวียนต่อเนื่องในระบบเช่นสีที่มีฤิทธิ์แห้งไวและแข็งตัวสูง ต้องใช้ปั๊มไดอะแฟรมมาหมุนเวียนในระบบพ่นสีเพื่อให้มีการไหลเวียนตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการแข็งตัวนในระบบ
-
ทำหน้าที่หมุนเวียนของตัวทำละลายในระบบพ่นสีเพื่อทำความสะอาดหัวพ่นของปืนพ่นสีอัตโนมัติภายในระบบพ่นสีเพื่อทำความสะอาดหัวพ่นของปืนพ่นสีอัตโนมัติภายในระบบเนื่องจากระบบพ่นสีแบบนี้จะทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานดังนั้นจะช่วยทำงานได้ต่อเนื่องไม่สะดุด
ดังนั้นปั๊มได้อะแฟรมประเภทนี้จะต้องมีคุณสมบัติที่ใช้งานได้นาน ทนทานและรองรับการทำงานเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง ควรเลือกปั๊มไดออะแฟรมให้ตรงกับคุณสมบัติของสีและระบบที่ใช้งานเพื่อให้ได้ประสิทธิสูงสุด
พื้นฐานการทำงานของปั๊มไดอะแฟรม

แผนผังการทำงานของ ZIP52
โดยปั๊มไดอะแฟรมของ WAGNER ทุกรุ่นจะทำงานในลักษณะเดียวกัน
ส่วนประกอบพื้นฐานในตัวปั๊ม
-
ที่บรรจุสีเข้าปั๊ม
-
แผ่นไดอะแฟรม
-
ที่อัดอากาศ
-
วาล์วหมุนควบคุมสี
-
วาล์วสีขาเข้า (รับสีจากถังสี)
-
วาล์วสีขาออก (จ่ายเข้าปืน)
การทำงานของปั๊มไดอะแฟรม
-
ตัวไดอะแฟรมคู่ทั้ง 2 ฝั่ง (2) ขยับจากด้านซ้ายไปขวาและไปกลับเพื่ออัดอากาศ (3) ให้ปั๊มทำงาน
-
วาล์วหมุน (4) ทำหน้าที่เอาแรงอัดอากาศจากจุดที่ตัวไดอะแฟรมขยับไปสัมผัสกับสีที่ดูดเข้ามาจากถังบรรจุแล้ว (1)
-
สีที่ถูกดูดเข้ามาจากการสัมผัสและอัดโดยอากาศและจะถูกจ่ายผ่านวาล์วสีขาเข้า (5) และจ่ายส่งต่อไปยังวาล์วสีขาออก (6) เพื่อจ่ายไปยังปืนพ่นสี
ตัวอย่างการใช้ปั๊มถ่ายเทของเหลว

หมุนเวียนสีเพื่อให้สีไหลได้ต่อเนื่อง
การใช้ปั๊มไดอะแฟรมร่วมกับถังแรงดันโดยตัวปืนพ่นสีจะต่อกับถังแรงดันและปั๊มไดอะแฟรมแล้ว สีจะไหลจากถังแรงดันไปยังปืนพ่นสีและมีบางส่วนไหลผ่านปืนไปยังปั๊มไดอะแฟรมที่ส่งสีกลับไปที่ถังแรงดันอีก
การหมุนเวียนแบบนี้จะช่วยไม่ให้สีค้างในสายสีในตอนที่ไม่ได้พ่นสี หากนำไปใช้กับสีที่แห้งเร็วและแข็วตัวจะทำให้สีตันและสร้างความเสียหายกับปืนพ่นสีได้ดังนั้นนี่เป็นวิธีการช่วยให้สีไหลได้ต่อเนื่อง
ตัวอย่างการใช้หมุนเวียนสีให้ไหลต่อเนื่อง

หมุนเวียนตัวทำละลาย
ตัวปั๊มไดอะแฟรมจะต่อกับถังแรงดันที่มีตัวทำละลายไว้และจะถ่ายตัวทำละลายจากถังแรงดันไปยังปืนพ่นสีเพื่อทำการล้างภายในตัวปืนพ่นสีในระหว่างการใช้งาน
ตัวอย่างการใช้หมุนเวียนตัวทำละลาย
การใช้งานกับสารเคมีตัวอื่น
บางอุตสหกรรมเช่นโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์จะใช้ปั๊มแบบนี้ในการถ่ายเทของเหลวจำพวกกาวที่ใช้ในการสร้างบรรจุภัณฑ์หรือโรงงานผลิตน้ำยาเคมีใช้ปั๊มในการลำเลียงน้ำยาเข้าสู่บรรจุภัณฑ์หรือโรงงานผลิตเครื่องหนังที่ใช้ลำเลียงน้ำยาแลคเกอร์ ดังนั้นปั๊มไดอะแฟรมลักษณะนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายอุตสหกรรม แต่อย่างไรก็ตามการตรวจสอบตัวเคมีกับสมรรถนะของปั๊มถ่ายเทของเหลวเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถใช้การได้

ปั๊มไดอะแฟรม UNICA
ปั๊มขนาดเล็กที่สุดในบรรดาปั๊มไดอะแฟรมทั้งหมดของ WAGNER แต่ความพิเศษอยู่การรองรับแรงดัน ถึงอัตราการถ่ายเทของเหลวที่เหมาะสมที่สุดจะอยู่ที่ 8 ลิตรต่อนาทีแต่สามารถรองรับแรงดันได้ถึง 27 บาร์ซึ่งมากที่สุดในบรรดาปั๊มไดอะแฟรมแรงดันต่ำทั้งหมด

ปั๊มไดอะแฟรมตระกูล ZIP
ปั๊มขนาดกลางที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย มีความทนทานสูงและดูแลรักษาง่ายที่สุดในบรรดาปั๊มไดอะแฟรมทั้งหมดโดยจะมี 3 รุ่นให้เลือกตั้งแต่รุ่นที่เน้นประหยัดสีในอัตรา 28 ลิตรต่อนาที รุ่นทั่วไป 52 ลิตรต่อนาทีและรุ่นใหญ่สุดของของ ZIP จะได้ที่ 80 ลิตรต่อนาที

ปั๊มไดอะแฟรม PM500
ปั๊มขนาดใหญ่ที่มีอัตราการถ่ายเทของเหลวที่ 80 ลิตรต่อนาทีแต่ปั๊มรุ่นนี้สร้างมาเป็นพิเศษสำหรับงานถ่ายเทของเหลวประเภทแลคเกอร์เช่นแลคเกอร์ที่ใช้เคลือบผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เป็นปั๊มสำหรับงานเฉพาะและมีการดูแลรักษาที่ซับซ้อนกว่ารุ่น ZIP พอสมควร

ปั๊มไดอะแฟรม ZIP182
ปั๊มขนาดใหญ่ที่สุดที่มีอัตราการการถ่ายเทสูงสุดที่ 182 ลิตรต่อนาที เป็นปั๊ม ZIP รุ่นพิเศษที่มีการใช้งานและการดูแลรักษาแตกต่างจาก ZIP รุ่นปกติ สำหรับงานที่ต้องการการจ่ายปริมาณสีในระดับ 100 ลิตรต่อนาทีขึ้นไป