จากแนวการประหยัดสีให้ได้มากที่สุดมาเป็นปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต
นับตั้งแต่ที่โลกนี้มีการใช้เทคโนโลยีปืนพ่นสีเข้ามาใช้ในงานเคลือบผิวในปลายศตวรรษที่ 19 มันคือยกที่ 1 แห่งการปฏิวัติการทำงานเคลือบผิวด้วยสีและเป็นก้าวกระโดดในการพัฒนาขั้นต่อไปของเทคโนโลยีนี้ การเกิดสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งโดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ปืนพ่นสีถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมอาวุธที่ต้องเร่งการผลิตให้ทันเวลาส่งมอบยุทธภัณฑ์ไปยังสนามรบให้เร็วที่สุดและเมื่อสงครามจบลง ปืนพ่นสีก็ถูกนำไปต่อยอดใช้งานในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
ที่ผ่านมานั้นแม้ว่าปืนพ่นสีจะช่วยทำให้งานเคลือบจบงานได้ไวขึ้น เพิ่มกำลังการผลิตได้มากกว่าการใช้สีแบบเดิมหลายเท่าแต่มีคำถามตามมาคือจะทำยังไงให้สีต้องใช้ไปนั้นสามารถใช้น้อยลงแต่ได้งานเท่าเดิมได้หรือไม่เพราะสีที่พ่นออกมานั้นบางส่วนไม่ได้เคลือบผิวแต่มันฟุ้งกระจายไปอย่างไร้ทิศทางและปัญหาการพ่นทับซ้อนที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ในเมื่อชิ้นงานที่ผลิตออกมาเป็นงานผลิตจำนวนมาก รูปทรงชิ้นงานเหมือนเดิมตลอด จะทำยังไงให้สีที่มันฟุ้งกระจายไม่เคลือบผิวสามารถถูกดึงกลับมาเคลือบติดได้หรือไม่ คำถามทั้งหมดเหล่านี้คือการเกิดของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตนั้นเอง


เทคโนโลยีไฟฟ้าสถิต ผู้เปลี่ยนโลกแห่งการพ่นสีในอุตสาหกรรม
แนวคิดการนำไฟฟ้าสถิตมาใช้ในการพ่นสีมันมีมาตั้งแต่ในทศวรรษที่ 50 แล้วซึ่งเป็นยุคหลังสงครามที่โลกต้องการฟื้นฟูอุตสาหกรรมขึ้นมาอย่างเร่งด่วนที่สุดและแนวคิดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อประหยัดสีที่ใช้ในการผลิตให้ได้มากที่สุดซึ่งนี่เป็นจุดประสงค์หลักของปืนไฟฟ้าสถิตไม่ว่าจะเป็นในยุคเร่มต้นหรือแม้กระทั้งในยุคปัจจุบันนี้ โรงงานอุตสาหกรรมหลายที่ต้องการปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตเพื่อต้องการประหยัดสีสำหรับงานใช้สีในปริมาณมากนี่เอง
หลักการของปืนประเภทนี้จะอาศัยความต่างขั้วไฟฟ้าระหว่างชิ้นงานและปืนพ่นสี ตัวปืนพ่นสีทำหน้าที่ชาร์จประจุไฟฟ้าขั้วลบเข้าไปในมวลสีที่พ่นออกมาในขณะที่ชิ้นงานที่แขวนนั้นจะมีสภาพพร้อมดูดสีผ่านตัวไฟฟ้าในสีเพราะผลจากการที่ตัวแขวนชิ้นงานได้เชื่อมต่อกับสายดินจนตัวชิ้นงานเป็นสื่อนำไฟฟ้าดูดสีเข้าหาเองอย่างอัตโนมัติ ซึ่งดูดเข้าหานี่เองเป็นเหตุทำให้ปริมาณสีที่ใช้มีจำนวนลดน้อยลงอย่างมาก (ลดไปถึง 30% เมื่อเทียบกับปืนพ่นสีปกติ) เพราะสีที่ฟุ้งกระจายมันจะถูกดูดเข้าชิ้นงานไปทันทีลดปัญหาการฟุ้งกระจายแบบไร้ทิศทางและการพ่นทับซ้อนได้
การทำงานของประจุไฟฟ้าที่เดินทางไปกับสี ผ่านสนามไฟฟ้าเข้าหาชิ้นงาน
ปัจจัยของสีที่เกี่ยวข้องกับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิต
ข้อดีของปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตคือการเหนี่ยวนำสีให้เคลือบชิ้นงานเองแต่ทว่ามันไม่ได้เป็นทุกสี นอกจากตัวปืนพ่นสีแล้ว สีที่นำมาใช้ต้องมีคุณสมบัติใช้งานกับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตได้ ตัวแปรที่ทำให้สีใช้ได้หรือไม่นั้นคือค่าต้านทานสีนั้นเอง ค่าต้านทานสีเป็นตัวแปรที่ทำให้สีโดนเหนี่ยวนำได้โดยปืนพ่นสีของ WAGNER สำหรับสีน้ำมันจะกำหนดให้ค่าต้านทานมากกว่า 150 กิโลโอห์มซึ่งค่าต้านทางนี้เปรียบเสมือนกับตาข่ายที่ทำให้ประจุไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวและลากสีออกไปซึ่งหากสีที่ไม่มีค่าต้านทานไฟฟ้าก็เปรียบเสมือนกับการที่ไม่มีตาข่ายให้เกี่ยว ประจุไฟฟ้าทะลุสีออกไปจนไม่มีคุณสมบัติเหนี่ยวนำไฟฟ้านั้นเอง
นอกจากนี้ตัวเนื้อสีและความเร็วในการลำเลียงสีเข้าหาตัวชาร์จประจุไฟฟ้าก็มีผลต่อค่าไฟฟ้าในสีที่พ่นออกมาดังนี้
-
สีที่มีมวลขนาดใหญ่: ไฟฟ้าสถิตจะมีอิทธิพลเข้ามาในสีน้อยทำให้การเหนี่ยวนำสีมวลขนาดนี้มีประสิทธิภาพลดลงและสีลักษณะนี้จะมีค่าต้านทานที่ตำ่ดังนั้นสีประเภทนี้มีคุณสมบัติสื่อนำไฟฟ้าสูง การใช้กับสีประเภทนี้จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เสริมนั้นคอหัวขดลำเลียงสีสำหรับสีที่มีค่าต้านทานต่ำที่จะช่วยอัดประจุไฟ้ฟ้าเข้ากับสีประเภทนี้ สีที่เข้าข่ายประเภทนี้คือสีที่น้ำมันที่มีผงโลหะอย่างสีเมทัลลิค สีมุก ในขณะที่สีสูตรน้ำที่มีมวลที่ใหญ่กว่าสีน้ำมันนั้นต้องแยกประเภทหมวดเฉพาะอุปกรณ์พ่นสีสูตรน้ำเลยทีเดียว
-
สีที่มวลขนาดเล็กมีค่าต้านทานสูง ประจุไฟฟ้าสามารถเหนี่ยวนำได้ง่ายกว่าทำให้สีน้ำมันที่มีมวลเล็กถูกนำมาใช้กับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตกันอย่างแพร่หลาย สำหรับสีนี้ไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์เสริมอย่างหัวขดลำเลียงสีแต่อย่างใด
แต่อย่างไรก็ตามสีที่จะนำมาใช้งานได้ต้องเป็นสีที่ผลิตขึ้นมารองรับปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตเท่านั้น หากคุณภาพสีไม่พร้อม การพ่นด้วยสีแบบนี้ก็ไม่ต่างไปจากปืนพ่นสีทั่วไปเลย
ตัวอย่างค่าต้านทานสี
ประจุไฟฟ้า
สีถูกเหนี่ยวนำด้วยค่าต้านทานสีที่เหมาะสม
ตัวต้านทานในสี
ค่าต้านทานน้อยเกินไปประจุไฟฟ้าทะลุออก

ชิ้นงานที่มีโอกาสเจอปรากฏการณ์กรงฟาราเดย์
การต่อยอดนำไปใช้งานชิ้นงานที่ซับซ้อน
ด้วยข้อดีของไฟฟ้าสถิตนี้เองทำให้มันถูกพัฒนาปืนรุ่นใหม่รุ่นต่อรุ่นและนำไปใช้งานอื่นที่ไม่ใช่งานผลิตจำนวนมากและไม่ใช่แค่ระบบพ่นสีแบบแรงดันอากาศ มันยังมีรุ่นที่ใช้กับการพ่นสีแรงดันสูงได้อีกด้วย
เมื่อเจอชิ้นงานที่ซับซ้อน ปัญหาการเกิดกรงฟาราเดย์ก็ตามมาทันทีเมื่อชิ้นงานบางชิ้นที่พ่นสีไปแล้วแต่มีบางส่วนที่สีไม่ได้เคลือบผิว การพ่นสีลงไปใหม่มีปัญหาเกิดขึ้นเพราะสีที่มีค่าลบได้เคลือบไปในระดับหนึ่งและบริเวณที่เคลือบในแต่ละจุดอยู่ไม่ห่างกันทำให้เกิดแรงผลัก (ผลจากขั้วไฟฟ้าเดียวกัน) จนสีไม่สามารถเข้าไปได้นั้นเองแต่ทั้งหมดนี้แก้ปัญหาได้ไม่ยากด้วยตู้ควบคุมปืนพ่นสีที่มีขายพร้อมกับชุดปืนด้วยอัตรา 1 ปืนต่อ 1 ตู้ทำให้สามารถช่วยปรับค่าไฟฟ้าและค่าแรงดันลมที่จะชดเชยให้ดันสีเข้าไปเคลือบผิวได้นั้นเองโดยที่ตู้ควบคุมของปืนพ่นสีน้ำมันและพ่นสีสูตรน้ำจะเป็นคนละตู้และใช้งานไม่เหมือนกัน
อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าปัจจัยที่ไม่อาจมองข้ามอีกเรื่องคือสภาพห้องพ่นสี ห้องพ่นที่ใช้งานนั้นมีการติดตั้งระบบสายดินเป็นไปตามมาตรฐานห้องพ่นสีหรือไม่ หากไม่มีการติดตั้งสายดนแล้ว ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตก็ไม่อาจใช้งานได้ตามประสทธิภาพของมันเลยเช่นกัน

ตู้ควบคุมสำหรับปืนพ่นสีน้ำมันไฟฟ้าสถิต
สำหรับการพ่นสีไฟฟ้าสถิตสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่มีข้อมูลมากกว่าในหน้านี้ได้ที่ลิ้งค์ด้านล่าง
อุปกรณ์พ่นสีไฟฟ้าสถิตแบบแยกประเภทของสี
ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตระหว่างที่ใช้กับสีน้ำมันและสีสูตรน้ำเหมือนกันแค่รูปทรงปืนเท่านั้นแต่โครงสร้างภายใน ตัวอะไหล่ ตู้ควบคุมและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างมากและไม่สามารถใช้แทนกันได้ เมื่อให้เข้าใจง่ายและเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมที่สุด ทั้ง 2 รุ่นนี้จะถูกนำเสนอแบบแยกจากกันเป็นเอกเทศเลยทีเดียวดังนั้นการใช้งานและสีที่นำมาใช้จะมีระบุตามปนพ่นสีไฟฟ้าสถิตในแต่ละรุ่น
(กรุณาคลิ๊ก "รายละเอียด" เพื่อดูข้อมูลเชิงลึก)

อุปกรณ์พ่นสีไฟฟ้าสถิต
สำหรับสูตรสีน้ำมันเท่านั้น
ชุดปืนพ่นสี ตู้ควบคุม สายสีและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่รองรับการใช้งานสำหรับสีสูตรน้ำมันหรือตัวทำละลายเท่านั้น เป็นอุปกรณ์ยอดนิยมสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ทั้งยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมหนักอื่น ๆ
โดยจะมีข้อมูลดังต่อไปนี้
-
ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตแบบแรงดันอากาศ GM5000EA
-
ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตแบบอากาศผสมแรงดันสูง GM5000EAC
-
ตู้ควบคุมปืนพ่นสี VM5000
-
อุปกรณ์ใช้งานร่วมที่เกี่ยวข้องกับงานพ่นสีน้ำมัน

อุปกรณ์พ่นสีไฟฟ้าสถิต
สำหรับสูตรสีสูตรน้ำเท่านั้น
จะมีเฉพาะรูปร่างและเปลือกนอกเท่านั้นที่ปืนสำหรับสีสูตรน้ำรุ่นนี้คล้ายกับรุ่นสีน้ำมัน แต่โครงสร้างภายในและรูปแบบการใช้งานแตกต่างกันอย่างสาระสำคัญเลยทีเดียวจนไม่สามารถนำไปใช้แทกันได้เพราะสีสูตรน้ำมีคุณสมบัติเป็นสื่อนำไฟฟ้าสูงกว่าสีน้ำมันมากจนทำให้อุปกรณ์ตัวจ่ายสีสูตรน้ำเข้าปืนพ่นสีต้องถูกเก็บไว้ในตู้พลาสติกที่เป็นฉนวนกันไม่ให้ผู้ใช้งานไปสัมผัสกับอุปกรณ์จ่ายสีสูตรน้ำที่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูง นอกจากนี้ตู้ควบคุมที่ใช้งานเป็นคนละแบบกับสีน้ำมันโดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้
-
ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตแบบแรงดันอากาศ GM5020EAW
-
ปืนพ่นสีไฟฟ้าสถิตแบบอากาศผสมแรงดันสูง GM5000EAWC
-
ตู้ควบคุมปืนพ่นสี VM5020WA สำหรับปืนพ่นสีสูตรน้ำ
-
ตู้พลาสติกสำหรับบรรจุอุปกรณ์ลำเลียงสี Aqua Coat
-
อุปกรณ์ใช้งานร่วมที่เกี่ยวข้องกับงานพ่นสีสูตรน้ำ