
Chapter 1: The Surface Coating and Film Formation
ตอนที่ 1: การเคลือบผิวและกระบวนการเกิดฟิล์ม
การเคลือบผิว....จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ
มันไม่ผิดหรอกถ้าจะบอกว่าการเคลือบผิวคือส่วนหนึ่งของผลลัพท์ ชิ้นงาน อาคารบ้านเรือนเมื่อถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งมอบงาน ขั้นตอนการเคลือบผิวมีความสำคัญเพราะเป็นหน้าเป็นตาของชิ้นงานเลยทีเดียว

วัตถุประสงค์ของการเคลือบผิว
แรกเริ่มนั้นการเคลือบผิวจะมีจุดประสงค์ในเรื่องการป้องกันพื้นผิวชิ้นไม่ให้เสื่อมสภาพไม่ว่าจะมาจากมลภาวะสิ่งแวดล้อมเช่นความร้อน แสงแดด ความชื้น เชื้อรา ป้องกันไม่ให้ชิ้นงานเสื่อมสภาพเร็วอย่างกันสนิมหรือการป้องกันอันตรายให้แก่ผู้สัมผัสเช่นการทาสีของเล่นที่ต้องใช้สีที่ร่างกายสัมผัสได้โดยไม่เป็นอันตรายหรือพาชนะอาหารที่ป้องกันสารตกค้างจากผิวชิ้นงานที่อาจเป็นอันตรายได้
อีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือความสวยงาม สีต่าง ๆ ที่มนุษย์เรานำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันหรือนำมารังสรรค์ในเชิงศิลปะตั้งแต่ภาพวาดหรือใช้พ่นสีผลิตภัณฑ์จากโรงงานอุตสหกรรมและการพ่นสีอาคารก่อสร้างให้ดูโดดเด่นสะดุดตา
ดังนั้นถ้าพูดถึงการเคลือบผิวแล้วมันก็ไม่พ้นเรื่องหลัก ๆ อยู่สองเรื่องคือการเคลือบผิวเพื่อการป้องกันและความสวยงาม
สารที่ใช้เคลือบผิวมีทั้งสีน้ำ สีน้ำมัน วาร์นิชและแลคเกอร์ โดยเฉพาะสียังมีแบ่งเป็นหลายประเภทแยกย่อยลงไปอีกซึ่งขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่พ่นและคุณสมบัติที่ต้องการ
การเคลือบผิวหรือเรียกอีกอย่างว่าการเกิดฟิล์ม (Film Formation)
ฟิล์มในที่นี้หมายถึงผิวสีที่เกาะบนชิ้นงานซึ่งกระบวนการเกิดฟิล์มก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการพ่นสี ทาสีหรือจุ่มสีนั้นเอง ในเวปไซด์นี้จะขอยกตัวอย่างในกรณีการพ่นสีด้วยปืนเพื่อให้สอดคล้องกับสินค้าที่ขายโดยขั้นตอนจะเริ่มตั้งแต่สีพ่นออกมากจากปืนจนจบที่สีแห้งบนผิวชิ้นงาน

1. การส่งสี (Application)
การส่งสีหมายถึงพาสีเข้าไปที่ชิ้นงาน

2. การเกาะผิว (Fixation)
สีสัมผัสกับชิ้นงานและทำการเกาะผิว

3. การแห้งหรือบ่ม (Curing)
หลังจากที่สีเคลือบชิ้นงานทั้งชิ้นในขั้นตอนที่ 2 ตัวทำละลายในสีจะระเหยจนแห้งแล้วทำปฏิกิริยาเปลี่ยนสภาพฟิล์มเหลวกลายเป็นแข็ง สีบางประเภทอาจต้องใช้วิธีอบความร้อนในตู้อบ